วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติช้างไทย



ช้างไทยเป็นสัตว์ประจำชาติไทย และเป็นที่สำคัญต่อพระพุทธศาสนา และประเทศไทยยังเคยมี
ธงชาติที่ประทับลายช้างเผือกไว้ด้วย ถ้าพูดถึงในสมัยก่อนนั้น ช้างมีความสำคัญมากในด้านการศึก ด้านการทำสงคราม ช้างทำให้ ขุนนางได้เลื่อนยศมามากคนแล้ว และคนไทยเราก็นิยมในช้างเผือก ซึ่งเป็นช้างของกษัตริย์ ซึ่งมีลักษณะสวยงามมาก แต่ว่าหาได้ยากมาก ซึ่งในการศึก ช้างจะเป็นพาหนะของแม่ทัพ ซึ่งจะมีการศึกบนหลังหลังช้าง เรียกว่า ยุทธหัตถี ถือเป็นการสู้ที่มีเกียรติมาก

ประวัติปลาหมอสีโดยคร่าว ๆ ไม่ได้มีการยืนยันเป็นที่แน่นอนว่าผู้นำเข้านั้นเป็นใคร โดยเมื่อราว ๆ ปี พศ. 2505 มีปลาหมอตัวแรกที่นำเข้ามาชื่อ แจ๊คเดมเซย์ ซึ่งถือเป็นตัวแรกที่ได้มีผู้นำเข้ามาเลี้ยง ต่อมาก็คือ ออสการ์ เป็นปลาหมออีกชนิดหนึ่งเช่นกันและต่อมาได้ถูกไปแยกสายพันธุ์ออกไปเป็นออกไปเป็นออสการ์โดยเฉพาะที่เรา เห็นกันอยู่
ส่วนประวัติปลาหมอสีที่นำเข้ามานั้น อยู่ในช่วงประมาณ30ปีขึ้นไปโดยถิ่นกำเนิดของปลาหมอสี จะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ สองกลุ่มคือ
กลุ่มที่วางไข่กับพื้น หรือซิคคลาโซน่า (CICLASONA)มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาก็คือ แถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้ บราซิลและลุ่มแม่น้ำอะเมซอนเป็นหลักใหญ่ ซึ่งได้แก่ ปลาเซวาลุ่มทอง ที่กำลังนิยมอยู่ตอนนี้ นอก จากนี้ยังมีพวกซิลสไปลุ่ม และปลาหมอมาคูลิคัวด้า อีกด้วย
กลุ่มที่อมไข่ไว้ในปาก มาจากทะเลสาปทางด้านอัฟริกาหรืออัฟริกาใต้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ปลาที่นิยมเลี้ยงก็จะมาจาก ทะเลสาปมาลาวี แถว ๆ แถบแทนซาเนีย และก็มีพวก แซ พวกซาอี เป็นพวกนิยมจับปลาหมอและก็พวกนี้อีกเช่น กันที่เอาปลาหมอออกขายสู่ตลาดโลก
ส่วนในประเทศไทยนั้น เริ่มมีคนรู้จักและเป็นที่แพร่หลายเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มมีการ ที่นิยมเลี้ยงเพื่อความสวยงามมากขึ้นและเริ่มมีการประกวด แข่งขันกันเกิดขึ้นอีกด้วย จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งจัดได้ว่าปลาหมออยู่ในช่วงที่ค่อนข้างบูมมากและเริ่มเป็นที่รู้จักกันในหมู่นักเลี้ยงปลาพอสมควร

หมาหลังอาน

สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า "หมาหลังอาน" เป็นมรดกของโลกที่มอบให้กับประเทศไทย จากวันนั้นจนวันนี้ ไม่มีใครสามารถสรุปได้ว่า หมาหลังอานนั้น ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคใดสมัยใด รูปร่างหน้าตาในยุคนั้นเป็นเช่นไร หลักฐานชิ้นเก่าแก่ทีสุดที่กล่าวถึงหมาไทยหลังอานที่ค้นพบก็คือ สมุดข่อย ที่ทำให้เรารู้ว่า หมาไทยหลังอาน ต้องมีหูตั้ง หางเหมือนดาบ ขนบนหลังขึ้นย้อนกลับ มองแล้วคล้ายกับอานของม้า เราจึงเรียกหมาพันธุ์นี้ว่า หมาหลังอาน
คำว่า "หมา" หลายคนบอกว่าเป็นคำไม่สุภาพ แต่จริงๆแล้ว เราก็ใช้เรียกกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ก็ยังนิยมเรียกว่าหมา บางคนมีลูกน่ารัก ยังเรียก ไอ้ลูกหมา หรือไอ้หมา เลยก็มี ดังนั้นจึงขอใช้คำว่า หมา ก็แล้วกัน เพราะมันเป็นไทยๆ ดี
มักมีคำถามของผู้เลี้ยงมือใหม่อยู่เสมอว่า หมาสวยๆนั้นมีลักษณะอย่างไร สอบถามไปยังฟาร์มต่างๆหลายฟาร์ม ก็ได้หมาสวยหลายแบบ "เลยเป็นงง" เพราะไม่ว่าถามฟาร์มใด ก็จะได้คำตอบว่า หมาที่สวยที่สุด ก็คือหมาในฟาร์มของเขานั่นเอง จึงขอแนะนำให้นักเลี้ยงมือใหม่ๆ ว่า เมื่อได้ฟังคำตอบ หรือได้รับข้อมูลมาแล้ว ในการพิจารณาควรจะใช้วิจารณญาน ดุลยพินิจ บวกความน่าจะเป็น โดยมีมาตรฐานพันธุ์ที่จดไว้ กับ เอฟ ซี ไอ เป็นตัวตั้ง ก็จะได้คำตอบที่น่าจะดีที่สุด
มาเข้าเรื่องตามหัวข้อเลยดีกว่า เมื่อกล่าวถึงหมาหลังอานสายตะวันออก ก็จะมองเห็นภาพสีแดง ปากมอม กระโหลกโต โครงสร้างใหญ่ท ี่มีอยู่ทั่วไปในแถบจันทบุรี และตราด สาเหตุที่หมาหลังอานสายตะวันออก มีลักษณะเป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะว่า ชาวบ้านสมัยก่อน เลี้ยงหมาไว้เป็นเพื่อนเฝ้าบ้าน และล่าสัตว์ การวิ่งไล่ล่าของมัน จะต้องมีการวิ่งมุดเข้าพงหญ้า ป่าละเมาะ ต้องมีการขุดรู กัดรากไม้เพื่อติดตามสัตว์ที่ล่า โครงสร้างจึงพัฒนาให้สอดคล้องกับการใช้งาน คือมีรูปร่างล่ำสัน แข็งแรง เต็มไปด้วยมัดกล้าม กระโหลกโต กรามใหญ่ แข็งแรง มีสัญชาตยานการไล่ล่าสูง และมีไม่น้อยที่หน้าต่ำ ท้ายสูง คงมาจากสาเหตุที่ต้องวิ่งมุดป่า เข้ารู เป็นประจำ
แต่ในปัจจุบัน วัตถุประสงค์การเลี้ยงหมาหลังอานเปลี่ยนไป คือในสมัยนี้เราจะเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา เพื่อประกวดความสวยงาม เมื่อมีผู้นิยมเลี้ยงกันมากขึ้น ผลที่ตามมาคือเลี้ยงเพื่อการค้า เมื่อมีผลประโยชน์ ก็ต้องมีการแข่งขันทางธุรกิจ ต่างคนจึงจำเป็นต้องพัฒนาหมาของตน ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด ผู้เลี้ยงจึงแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม หลายความคิด และมีแนวทางในการพัฒนาต่างกันออกไป แต่การที่จะสรุปว่า หมาตัวไหนสวย ก็ต้องวัดกันในสนามประกวด การประกวดจะต้องผ่านหลายสนามและกรรมการหลายคน จึงจะสรุปได้ว่าสวยจริง เมื่อวัตถุประสงค์ ในการเลี้ยงเปลี่ยนไป จึงจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างของหมาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ แต่ต้องคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ประจำพันธุ์
หมาหลังอานสายตะวันออก ในปัจจุบัน จึงมีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม ทั้งในเรื่องโครงสร้าง จิตประสาท อารมณ์ ที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
หมาหลังอานเป็นมรดก ที่โลก มอบไว้ให้อยู่คู่กับประเทศไทย โดยหน้าที่ของเราซึ่งเป็นคนไทย ควรจะอนุรักษ์หมาหลังอานให้อยู่คู่ไทย และในขณะเดียวกัน ก็ต้องพัฒนาให้หมาหลังอาน สามารถเข้าไปแข่งขันความสามารถ และประกวดความสวยงามกับหมาทุกพันธุ์ ทั่วโลกได้
ท้ายนี้ ขอฝากข้อคิดถึงเพื่อนสมาชิกทุกท่านว่า งานใด กิจกรรมใด จะประสบผลสำเร็จได้ สมาชิกในกลุ่ม จะต้องมีความสมัครสมาน สามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และหาบทสรุปที่จะได้เดินไปยังจุดหมายปลายทางเดียวกัน

สุนัข บางแก้ว



ประวัติประวัติความเป็นมาของสุนัขบางแก้วนั้นไม่มีบุคคลใดที่ให้คำตอบที่แน่นอนได้ว่าเกิดจากสุนัขพันธุ์ใดกันแน
่ เท่าที่ทราบจากคำบอกเล่ากันต่อๆ มาว่าเป็นสุนัข 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ไทย พันธุ์จิ้งจอก และ พันธุ์หมาป่า
โดยที่มีขนยาวปานกลาง ปากแหลม หางเป็นพวง ซึ่งเป็นลักษณะ ของสุนัขจิ้งจอก กะโหลกเป็นรูปสามเหลี่ยม
ใบหูตั้งป้องไปข้างหน้าปลายแหลม โคนหูห่างกันมาก เป็นลักษณะของหมาป่า
ส่วนลักษณะของสีหรือรูปร่างก็คล้ายสุนัขพันธุ์พื้นบ้านของเรานั่นเองเมื่อได้รับการผสมภายในเหล่าเดียวกันหลาย ๆ ช่วงทำให้เกิดสุนัขพันธุ์ใหม่
“ลูกสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้วพันธุ์แท้ที่มีลักษณะดีเด่น”เนื่องจากบ้านบางแก้วในอดีตนั้น
ชาวบ้านจะมีที่อยู่อาศัยเป็นเรือนแพจอดอยู่สองข้างฝั่งของลำคลองบางแก้ว สภาพโดยทั่วไปก็ยังเป็นป่ารกจะมีสุนัขไทยที่เลี้ยงไว้อยู่ก็มีบริเวณวัดบางแก้ว ที่มีบริเวณกว้างขวาง
วัดบางแก้ว ในสมัยที่หลวงปู่มากเมธาวี เจ้าอาวาส เวลาท่านจะเดินทางไปไหนไกล ๆ ด้วยกิจนิมนต์
ท่านต้องใช้ม้าเป็นพาหนะเดินทาง หลวงปู่มากท่านเป็นพระภิกษุที่โอบอ้อมอารี มีเมตตา รักสัตว์เลี้ยง
ท่านเลี้ยงม้าไว้หลายตัว บริเวณวัดก็มีสุนัข แมวและไก่พันธุ์พื้นเมืองภายหลังสุนัขของท่านได้คลอดลูกออกมี
ลักษณะที่ดีเด่นผิดแปลกไปจากสุนัขพันธุ์ไทยทั่วๆไป โดยเป็นสุนัขที่ขนฟูยาวเป็นขนสองชั้น หูเล็ก ปากแหลม หางเป็นพวง
สุนัขพันธุ์ “บางแก้ว”เป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดเกิดที่บ้านบางแก้ว ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จังหวัดพิษณุโลก สุนัขพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขไทยพันธุ์หนึ่งที่มีความสวยงามคล้ายสุนัขพันธุ์ต่างประเทศที่มีขนยาวสวยงามหางเป็นพวง เป็นสุนัขที่มีรูปร่างขนาดปานกลาง รูปทรงของลำตัวตั้งแต่ช่วงขาหน้าถึงขาหลังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สันนิษฐานกันว่าสุนัขพันธุ์บางแก้วคงจะได้รับสายพันธุ์จากสุนัขป่า (สุนัขจิ้งจอก-สุนัขไน) จนในระยะหลังจึงกลายเป็นสุนัขพันธุ์แท้ที่มีลักษณะเป็นของตัวเองการเลี้ยงของชาวบ้านบางแก้วในสมัยนั้น มักเลี้ยงกันภายในบริเวณเรือนแพสุนัขบางแก้วที่ได้มีการเลี้ยงแพร่หลายออกไปจากบ้านบางแก้ว
ไปในบริเวณใกล้เคียงเช่นบ้านชุมแสงสงครามบ้านห้วยชัน บ้านวังแร่ บ้านบางระกำ
ปัจจุบันสุนัขพันธุ์บางแก้วได้มีการเลี้ยงแพร่พันธุ์ออกไปทั่วประเทศเป็นที่นิยม เพราะสุนัขพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขที่มีอุปนิสัย
รักเจ้าของ รักถิ่นฐานที่อยู่ ซื่อสัตย์ ฝึกสอนง่าย ฉลาดว่องไว และเป็นสุนัขที่มีนิสัยดุกว่าสุนัขพันธุ์ไทยอื่นๆ (ปัจจุบันนักพัฒนาพันธุ์ได้พัฒนาจนสุนัขบางแก้วไม่ดุและเข้าสังคมได้ตามยุคสมัย )
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการใช้สุนัขพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขใช้งานในด้าน การพิทักษ์รักษาทรัพย์สินภายในบ้าน ไร่ สวน โกดังต่างๆได้ดี อีกทั้งสุนัขพันธุ์บางแก้วยังมีลักษณะที่สวยงามเป็นจุดเด่นกว่าสุนัขไทยอื่นๆ
ด้วยความดุของสุนัขเหล่านี้นี่เองจึงทำให้ ชาวบ้านนิยมขอลูกสุนัขไปเลี้ยงเฝ้าบ้านเฝ้าสวนจนแพร่พันธุ์ไปมากมายตามหมู่บ้านต่างๆ ด้วยความที่เป็นสุนัขที่ดุ หวงแหนทรัพย์สินและรักเจ้าของอย่างถวายหัว แถมยังมีขนยาวสายงามจึงทำให้เป็นที่นิยมกันในตั้งแต่อดีต แต่ในอดีตนั้นยังไม่มีการซื้อขาย แต่จะนำสิ่งของไปแลกเปลี่ยน เช่นลูกปืนหรือสิ่งของอื่นๆที่ชาวบ้านจำเป็นต้องใช้ ไปแลกกับลูกสุนัขหรือถ้าใครมีโอกาสผ่านไปยังบริเวณดังกล่าวจะมีการนำลูกสุนัขบางแก้วมาเป็นของฝากของกำนัลให้กับเจ้านายและผู้ที่เคารพนับถือ
ซึ่งในปัจจุบันสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วได้รับการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีรูปร่างที่สวยงาม โครงสร้างใหญ่ ขนยาวกว่าในอดีต สีชัดเจนสวยงาม มีกระน้อยลงจนไม่มีเลย จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากและได้แพร่หลายออกไปทั่วประเทศ สุนัขพันธุ์บางแก้วจึงเป็นที่นิยมของผู้ซื้อหาเอาไปเลี้ยง จนในแต่ละปีลูกสุนัขออกมาเท่าไรก็ยังไม่พอต่อความต้องการของผู้ซื้อในปัจจุบัน
ลักษณะทั่วไปสุนัขพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขขนาดกลาง โครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีสัดส่วนที่กลมกลืนประกอบด้วย กล้ามเนื้อที่สมบูรณ์แข็งแรง มีการเคลื่อนไหวที่แคล่วคล่องสวยงาม ยืนเด่นสง่าดังราชสีห์ ยามวิ่งเหยาะย่างสวยงามยิ่งนัก
พฤติกรรมอารมณ์สุนัขพันธุ์บางแก้วจะตื่นตัวร่าเริงเชื่อมั่นในตนเอง จิตประสาทมั่นคงไม่ขลาดกลัว ซื่อสัตย์หวงทรัพย์สิน รักเจ้าของและผู้เป็นนายในบ้าน ป
ถิ่นกำเนิดสุนัขพันธุ์บางแก้ว บ้านบางแก้ว ต. ท่านางงาม อ. บางระกำ จ. พิษณุโลก
กรุ๊ป (Group)สุนัขอเนกประสงค์(Utility Dog Group)
รูปร่างสุนัขพันธุ์บางแก้วมีรูปร่างหนาล่ำสันเมื่อยืนหยัดขาหน้าและหลังเหยียดตรง ข้อขาหลังท่อนล่างตั้งได้ฉากกับพื้น
คอยก หน้าตั้ง ไหล่สูงลาดเท
ความสูงเพศผู้สูง 19-21 นิ้ว (48-53 ซม.) เพศเมียสูง 17-19 นิ้ว (43-48 ซม.) อนุโลมให้สูงและต่ำกว่านี้ได้ 0.5 นิ้ว (1-2 ซม.)น้ำหนักเพศผู้หนัก 19-21 ก.ก. เพศเมียหนัก 16-18 ก.ก.สี ขาว-น้ำตาล,ขาว-ดำ,ขาว-เทา
ขน สุนัขพันธุ์บางแก้วจะมีขนยาวปานกลางมี 2 ชั้น ชั้นในละเอียดอ่อนนุ่ม ชั้นนอกเส้นใหญ่เหยียดตรง ยาวคลุมบริเวณแผ่นหลังศีรษะศีรษะจะได้สัดส่วนกับลำตัวหู หูเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดเล็ก ได้สัดส่วนกับหัว ตั้งป้องไปข้างหน้า มีขนอ่อนที่กกหูและหลังใบหูตาตาเล็กคล้ายรูปสามเหลี่ยม (คล้ายเม็ดอัลมอนด์ Almond คือสีดำ สีน้ำตาลเข็ม)ปากปากยาวปานกลาง โคนปากใหญ่ ปลายปากเล็กแหลม จรดปลายจมูกจมูก จมูกได้สัดส่วนกับปาก มีสีดำ
ฟันฟันเล็กและแหลมคม ขบสนิทแบบกรรไกร ฟันบนเกยอยู่ด้านนอกแบบกรรไกร อนุโลมให้ฟันขบสนิทกันพอดีคอคอใหญ่ ล่ำสัน รับกับกระโหลกและช่วงไหล่ ตำแหน่งคอยกชูขึ้น เชิดหน้า ขาหน้าขาหน้าใหญ่กว่าขาหลัง เวลายืน เหยียดตรงและขนยาวลักษณะเป็นแข้งสิงห์ ข้อเท้าสั้นทำมุมเฉียงเล็กน้อยเท้าอุ้งเท้ากลมคล้ายอุ้งเท้าแมว มีขนยาวคลุมนิ้วเท้า
เส้นหลังเส้นหลังตรง แข็งแกร่ง มุมไหล่สูงลาดเทมาทางบั้นท้าย สะโพกสะโพกใหญ่และแข็งแรงส่วนหลังมีขนยาวลามลงมาจนถึงข้อขาหลังท่อนบน
หางโคนหางใหญ่ ขนหางเป็นพวงปลายโค้งเข้าหาเส้นหลัง เป็นครึ่งวงกลมที่สวยงาม ขาหลังขาหลังเล็กกว่าขาหน้าเวลายืนทำมุมพอเหมาะ มองจากด้านหลัง ข้อเท้าหลังตั้งได้ฉากและขนานกัน

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สักทอง


ไม้สัก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tectoma Grandis อยู่ในวงศ์ Verbenaceae มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะ อินเดียตะวันออก
ไม้สัก เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และบางส่วนของภาคกลางและตะวันตก คือ ท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิต์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และพิจิตร และมีบ้างเล็กน้อยในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี
ไม้สักชอบขึ้นตามพื้นที่ที่เป็นภูเขา แต่ในพื้นที่ราบ พื้นที่ดินปนทรายที่น้ำไม่ขัง ไม้สักก็ขึ้นได้ดีเช่นกัน ไม้สักมักเป็นหมู่ไม้สักล้วนๆ และมีขนาดใหญ่และชอบขึ้นที่ที่มี ชั้นดินลึก การระบายน้ำดี ไม่ชอบดินแข็งและน้ำท่วมขัง
ไม้สักเป็นไม้ผลัดใบ ขนาดใหญ่ที่มีลำต้นเปล่า มักมีพูพอนตอนโคนต้นเรือน ยอดกลมสูงเกินกว่า ๒๐ เมตร เปลือกหนา สีเทาหรือน้ำตาลอ่อนแกมเทาแตกเป็นร่องตื้นๆ ไปตามทางยาวและหลุดออกเป็นแผ่นบางๆ เล็กๆ ใบใหญ่ ความกว้าง ๒๕ - ๓๐ เซนติเมตร ยาว ๓๐ - ๔๐ เซนติเมตร รูปใบรีมนหรือรูปไข่กลับ แตกจากกิ่งเป็นคู่ๆ ท้องใบสากหลัง ใบสีเขียวแกมเทาเป็นขน ดอกเป็น สีขาวนวลออกเป็นช่อใหญ่ๆ ตามปลายกิ่งเริ่มออกดอกเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ผลค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ - ๒ เซนติเมตร ผลหนึ่งๆ มีเมล็ดใน ๑ - ๔ เม็ด เปลือกแข็งมีขนสั้นๆ นุ่มๆ สีน้ำตาลหุ้มอยู่ ผลจะแก่ในราว เดือนพฤศจิกายน - มกราคม
ลักษณะเนื้อไม้สีเหลืองทองถึงน้ำตาลแก่ มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาลแก่แทรกเสี้ยนตรงเนื้อหยาบแข็งปานกลาง เลื่อนใสกบ ตบแต่งง่าย
คุณสมบัติที่ดีบางประการ คือ ไม้สักปลวกมอดไม่ทำอันตราย เพราะในเนื้อไม้สักมีสารเคมีพิเศษ มีคุณสมบัติคงทนต่อ ปลวก แมลง เห็นราได้อย่างดียิ่ง มีความแข็งแรงสูงตามการทดลองถึง ๑,๐๐๐ กิโลกรัม / ตารางเซนติเมตร มีความทนทานตาม ธรรมชาติ จากการทดลองนำแก่นของไม้สักไปปักดิน มีความทนทานระหว่าง ๑๑ - ๑๘ ปี
นอกจากนี้ไม้สักทองยังพบว่ามีทองคำปนอยู่ ๐ ๕ ppm (ไม้สักทอง ๒๖ ตัน มีทองคำหนัก ๑ บาท)

แม้ว่าทิวลิปจะเป็นดอกไม้ที่ทำให้นึกถึงฮอลแลนด์ แต่ทั้งดอกไม้และชื่อมีที่มาจากจักรวรรดิเปอร์เชีย ทิวลิปหรือ “lale” (จากเปอร์เชีย)เช่นเดียวกับที่เรียกกันในตุรกี เป็นดอกไม้ท้องถิ่นของตุรกี, อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และบางส่วนของเอเชียกลาง แม้ว่าจะไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้นำทิวลิปเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปแต่ที่สำคัญคือตุรกีเป็นผู้ทำให้ทิวลิปมีชื่อเสียงที่นั่น เรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันก็คือ Oghier Ghislain de Busbecqไปเป็นราชทูตของสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในราชสำนักของสุลต่านสุลัยมานมหาราชแห่งจักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1554 Busbecq บรรยายในจดหมายถึงดอกไม้ต่างๆ ที่เห็นที่รวมทั้งนาร์ซิสซัส ดอกไฮยาซินธ์ และทิวลิปที่ดูเหมือนจะบานในฤดูหนาวที่ดูเหมือนผิดฤดู (ดู Busbecq, qtd. in Blunt, 7) ในวรรณคดีเปอร์เชียทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ต่างก็ให้ความสนใจกับดอกไม้ชนิดนี้
คำว่า “tulip” ที่ในภาษาอังกฤษสมัยแรกเขียนเป็น “tulipa” หรือ “tulipant” เข้ามาในภาษาอังกฤษจากฝรั่งเศสที่แผลงมาจากคำว่า “tulipe” และจากคำโบราณว่า “tulipan” หรือจากภาษาลาตินสมัยใหม่ “tulīpa” ที่มาจากภาษาตุรกี “tülbend” หรือ “ผ้ามัสลิน” (ภาษาอังกฤษว่า “turban” (
ผ้าโพกหัว) บันทึกเป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และอาจจะมาจากภาษาตุรกีอีกคำหนึ่งว่า “tülbend” ก็เป็นได้)

ทิวลิปในประเทศไทย
ในประเทศไทย สำนักงานเกษตรที่สูงดอยผาหม่น ได้ปลูกดอกทิวลิป ในพื้นที่เกษตรที่สูง
ดอยผาหม่น ต.ตับเต่า อ.เทิง จ.เชียงราย ตั้งปี พ.ศ. 2549 เพื่อการท่องเที่ยว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees
ชื่อสามัญ : Kariyat , The Creat
วงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-70 ซม. ทุกส่วนมีรสขม กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมากส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน
สรรพคุณ
มี 4 ประการคือ
-แก้ไข้ทั่ว ๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
-ระงับอาการอักเสบ พวกไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี -แก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ
-เป็นยาขมเจริญอาหาร
และการที่ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณ 4 ประการนี้ จึงชวนให้เห็นว่าตัวยาต้นนี้ เป็นยาที่สามารถนำไปใช้กว้างขวางมาก จากเหตุผลที่ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้

เห็ดนางฟ้า


เห็ดนางฟ้ามีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม เห็ดทั้งสองชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน ชื่อ "เห็ดนางฟ้า" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในเมืองไทย คนไทยบางคนเรียกว่าเห็ดแขก เนื่องจากมีผู้พบเห็นเห็ดนี้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer
เห็ดนางฟ้าถูกนำไปเลี้ยงในอาหารวุ้นเป็นครั้งแรกโดย Jandaik ในปี ค.ศ. 1947 ต่อมา Rangaswami และ Nadu แห่ง Agricultural University, Coimbattore ในอินเดียเป็นผู้นำเชื้อบริสุทธิ์ของเห็ดนางฟ้าเข้ามาฝากไว้ที่ American Type Culture Collection (ATCC) ในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1975 ได้ทราบว่าประมาณปี ค.ศ. 1977 ทางกองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้นำเชื้อจาก ATCC เข้ามาประเทศไทยเพื่อทดลองเพาะดู ปรากฏว่าสามารถเจริญได้ดี
อีกสายพันธุ์หนึ่ง เป็นเห็ดที่มีผู้นำเข้ามาจากประเทศภูฐาน มาเผยแพร่แก่นักเพาะเห็ดไทย ได้มีการเรียกชื่อเห็ดนี้ว่า เห็ดนางฟ้าภูฐาน มีหลายสายพันธุ์ซึ่งชอบอุณหภูมิที่แตกต่างกัน บางพันธุ์ออกได้ดีในฤดูร้อน บ้างพันธุ์ออกได้ดีในฤดูหนาว เป็นที่นิยมมาเพาะเป็นการค้ากันมาก
ลักษณะของดอกเห็ดนางฟ้า มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ ดอกเห็ดนางฟ้าสีจะอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า เห็นนางฟ้าสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานได้หลายวัน เช่นเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ไม่มีการย่อตัวเหมือนกับเห็ดนางรม ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน ในอินเดียดอกเห็ดมีขนาดตั้งแต่ 5 - 14 เซ็นติเมตร และจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30 - 120 กรัม เห็ดนางฟ้ามีรสอร่อย เวลานำไปปรุงอาหารจะมีกลิ่นชวนรับประทาน เห็ดชนิดนี้สามารถนำไปตากแห้ง เก็บไว้เป็นอาหารได้ เมื่อจะนำเห็ดมาปรุงอาหาร ก็นำไปแช่น้ำเห็ดจะคืนรูปเดิมได้

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ไก่ป่า



ไก่ป่า เป็นไก่สายพันธุ์ดั้งเดิมและเป็นต้นตระกูลของไก่บ้านที่เลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gallus gallus อยู่ในวงศ์ Phasianidae จัดเป็นนกมีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ขนาดลำตัว 46 -73 เซนติเมตร พบการกระจายอยู่ในเขตศูนย์สูตรโดยมีการกระจายตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงเวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ จนไปถึงเกาะต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย


สำหรับในประเทศไทยแล้วพบไก่ป่า 2 สายพันธุ์ย่อย คือ
1. ไก่ตุ้มหูขาว (Gallus gallus gallus) มีการกระจายพันธุ์อยู่ทาง
ภาคตะวันออกของไทย, เวียดนาม, ลาว, กัมพูชา
2. ไก่ป่าตุ้มหูแดง (Gallus gallus spadiceus) พบการกระจายพันธุ์ในพม่า, มณฑลยูนาน ในประเทศจีน ในประเทศไทย ยกเว้นทางภาคตะวันออก, ลาวบางส่วน, มาเลเซีย และทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา
ทั้งสองชนิดย่อยมีข้อแตกต่างตรงที่ไก่ป่าตุ้มหูขาวนั้นจะมีลักษณะของขนบริเวณคอยาว และเนื้อบริเวณติ่งหูมีขนาดใหญ่มีแต้มสีขาว ส่วนในไก่ป่าตุ้มหูแดงนั้นลักษณะของขนคอจะยาวปานกลาง เนื้อบริเวณตุ้มหูมีขนาดเล็กและมักจะมีสีแดง[1]ซึ่งตามหลักฐานทางชีวโมเลกุล แล้วพบว่าไก่ป่าตุ้มหูขาวนั้นเป็นบรรพบุรุษของไก่บ้านทั้งหลาย

หมีขั้วโลก


หมีขั้วโลก (Polar Bear) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นนักล่าแห่งดินแดนขั้วโลกเหนือที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพชีวิตกลางน้ำแข็ง ธรรมชาติสร้างให้หมีขาวแตกต่างจากหมีพันธุ์อื่น คือ มีขนคลุมอุ้งเท้า นิ้วเท้าสั้น เล็บโค้งงอเพื่อ ให้ยึดน้ำแข็งได้อย่างมั่นคง ในขณะเดียวกันก็มีท่อนขาขนาดใหญ่เพื่อเฉลี่ยน้ำหนักมหาศาล เพื่อสามารถเดินบนน้ำแข็งบางๆ ได้
หมีขั้วโลก ตัวผู้หนักถึง 775-1,500 ปอนด์ ส่วนตัวเมียหนัก 330-500 ปอนด์ มีถิ่นที่อยู่บริเวณอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ แต่ไม่มีหลักแหล่งที่แน่นอน พบในอลาสกา แคนาดา รัสเซีย เดนมาร์ก (กรีนแลนด์) และนอร์เวย์ เป็นสัตว์สปีชีส์หนึ่งของโลกที่กำลังถูกคุกคาม ปัจจุบันหมีขั้วโลกมีจำนวนประมาณ 22,000-27,000 ตัว อยู่ในแคนาดามากที่สุดคือราว 15,000 ตัว ซึ่งการดำรงชีวิตให้อยู่รอดในแถบอาร์กติกที่มีอุณหภูมิหนาวเย็น ทำให้สัตว์หลายๆ ชนิดใช้เวลายาวนานในการวิวัฒนาการจนมีขนสีขาว หรือเปลี่ยนสีขนในฤดูหนาวจนกลมกลืนกับหิมะ ซึ่งเป็นการพรางตัวที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และหาอาหาร ดังเช่นกระต่ายป่าสีขาว (white hare) , นกนางนวลอาร์กติก (Arctictern) , ตัววีเซล (weasel) , ตัวเลมมิง (lemming) , หมาจิ้งจอกอาร์กติก (Arctic fox) โดยเฉพาะหมีขั้วโลก (polar bear) ที่ใช้เวลาประมาณ 2 แสนปี พัฒนา และมีวิวัฒนาการจากหมีสีน้ำตาลมาเป็นหมีขาวในทุกวันนี้

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กล้วย



กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำไท กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว กล้วยไข่ กล้วยตานี กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยส้ม กล้วยนาค กล้วยหิน กล้วยงาช้าง บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย

มะม่วง


มะม่วงเป็นไม้ผลขนาดใหญ่ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ปลูกได้ในดินทั่วไป ยกเว้นดินเค็มและดินที่มีน้ำขัง ถ้าปลูกในดินร่วนซุยมีอินทรีย์วัตถุมาก และมีการระบายน้ำดีก็จะยิ่งให้ผลผลิตดี นอกจากนี้มะม่วงยังมีความต้านทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี จะเริ่มให้ผลหลังจากการปลูกด้วยกิ่งทาบประมาณ 3 ปี สามารถให้ผลผลิตมากกว่า 15 ปี และผลผลิตจะสูงขึ้นเฉลี่ยปีที่ 8 ประมาณ 50-100 กก./ต้น โดยเฉลี่ยอายุจากดอกบาน เก็บผลแก่อยู่ระหว่าง 90-115 วัน น้ำหนักผลมะม่วงเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 260 กรัม ฤดูกาล ผลผลิตอยู่ระหว่างปลายเดือนมีนาคม-มิถุนายน

บัว



บัว เป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัว
บัวเป็นราชินีแห่งไม้น้ำ จัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ถือเป็นสัญญลักษณ์ของคุณงามความดี บัวหลวงชอบขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร ถิ่นกำเนิดของบัวอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวหรือสีเทาชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนหลายสี

บัวที่พบและนิยมปลูกในประเทศไทย มาจาก 3 สกุล คือ
1.บัวหลวง (lotus) เป็นบัวในสกุล Nelumbo มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติ หรือบัวหลวง
บัวผัน, บัว(กิน)สาย (waterlily) เป็นบัวในสกุล Nymphaea มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว หรือเหง้า ใบและดอกเกิดจากตาหรือหน่อที่เจริญขึ้นมาที่ผิวน้ำด้วยก้านส่งใบและยอด
2. บัววิกตอเรีย (Victoria) เป็นบัวในสกุล Victoria มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า บัวกระด้ง จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
พ.ศ. 2551 ค้นพบสายพันธุ์บัวสายพันธุ์ใหม่ของโลกที่พิพิธภัณฑ์บัว
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ได้ตั้งชื่อว่า "ธัญกาฬ" และ "รินลอุบล"บัวที่พบและนิยมปลูกในประเทศไทย มาจาก 3 สกุล คือ
บัวหลวง (lotus) เป็นบัวในสกุล Nelumbo มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติ หรือบัวหลวง
บัวผัน, บัว(กิน)สาย (waterlily) เป็นบัวในสกุล Nymphaea มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว หรือเหง้า ใบและดอกเกิดจากตาหรือหน่อที่เจริญขึ้นมาที่ผิวน้ำด้วยก้านส่งใบและยอด
บัววิกตอเรีย (Victoria) เป็นบัวในสกุล Victoria มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า บัวกระด้ง จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
พ.ศ. 2551 ค้นพบสายพันธุ์บัวสายพันธุ์ใหม่ของโลกที่พิพิธภัณฑ์บัว
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ได้ตั้งชื่อว่า "ธัญกาฬ" และ "รินลอุบล"

ราชพฤกษ์


ราชพฤกษ์ หรือ คูน (Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้
ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก

กุหลาบควีนสิริกิติ์


กุหลาบควีนสิริกิติ์ (Queen Sirikit Rose) เป็นกุหลาบดอกใหญ่สีเหลือง เมื่อต้องแสงอาทิตย์ปลายกลีบจะมีสีส้ม ดอกมีกลิ่นหอม บางครั้งกิ่งหนึ่งอาจมีถึง 3 ดอก
นายอองเดร อองดริก ผู้อำนวยการไร่กุหลาบกร็องด์ โรเซอเร ดู วาล เดอ ลัวร์ (Grandes Roseraies Du Val de Loire) แห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ในฝรั่งเศส เป็นผู้ตั้งชื่อดอกกุหลาบชนิดนี้ตามพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2514ในเอกสารของไร่บันทึกเรื่องราวไว้ว่า"พระราชินีแห่งประเทศไทย
ทรงพระสิริโฉมเป็นเสน่ห์แบบตะวันออกเหนือตะวันตก"

ทุเรียน


ทุเรียน เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio) (ถึงแม้ว่านักอนุกรมวิธานบางคนจัดให้อยู่ในวงศ์ทุเรียน (Durionaceae)ก็ตาม) ได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้ ผลมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นเฉพาะตัว และมีหนามแข็งปกคลุมทั่วเปลือก อาจยาวมากกว่า 30 ซม. และเส้นผ่าศูนย์กลางอาจมากกว่า 15 ซม. โดยทั่วไปมีน้ำหนัก 1 ถึง 3 กิโลกรัม ผลมีรูปรีถึงกลม เปลือกมีสีเขียวถึงน้ำตาล เนื้อในรับประทานได้ มีสีเหลืองซีดถึงแดง ขึ้นอยู่กับชนิด
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัวซึ่งเป็นส่วนผสมของสารระเหยที่ประกอบไปด้วย เอสเทอร์, คีโตน, และ สารประกอบกำมะถัน บางคนบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม ในขณะที่บางคนบอกว่ามีกลิ่นเหม็นรุนแรง กลิ่นของทุเรียนทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรงจากผู้ที่ไม่ชอบในกลิ่นของมัน ทำให้มีการห้ามนำทุเรียนเข้าในโรงแรม และในการขนส่งสาธารณะในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนั้นทุเรียนยังเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงทั้งยังอุดมไปด้วยกำมะถันและคอเลสเตอรอล ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพราะหากกินเข้าไประดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วยังทำให้ร้อนในและรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว
ทุเรียนเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบรูไน, ประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศมาเลเซีย และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกมาประมาณ 600 ปีมาแล้ว ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษที่ชื่ออัลเฟรด รัสเซล วอลเลซได้พรรณนาถึงทุเรียนว่า "เนื้อในมันเหมือนคัสตาร์ดอย่างมาก รสชาติคล้ายอัลมอนด์" เนื้อในของทุเรียนกินได้หลากหลายไม่ว่าจะห่าม หรือสุกงอม และในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีการนำทุเรียนมาทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งเป็นอาหารคาวและอาหารหวาน แม้แต่เมล็ดก็ยังรับประทานได้เมื่อทำให้สุก

ทุเรียนมีมากกว่า 30 ชนิด มีอย่างน้อย 9 ชนิดที่รับประทานได้ แต่มีเพียง Durio zibethinus ชนิดเดียว ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก มีตลาดเป็นสากล ชนิดที่เหลือมีขายแค่ในท้องถิ่นเท่านั้น ทุเรียนมีสายพันธุ์ประมาณ 100 สายพันธุ์ให้ผู้บริโภคเลือกรับประทาน นอกจากนี้ยังมีราคาสูงอีกด้วย ในประเทศไทยพบทุเรียนอยู่ 5 ชนิดคือ ทุเรียนรากขา (D. graveolens), ทุเรียนนก (D. griffithii), ชาเรียน (D. lowianus), ทุเรียนป่า (D. mansoni) และ ทุเรียน (D. zibethinus) ทุเรียนมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆ อีก คือ "ดือแย" (มลายู ใต้), "เรียน" (ใต้), "มะทุเรียน" (เหนือ)

มังคุด


มังคุด ( Mangosteen) ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia mangstana Linn. เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ แพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวาย ในประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้วเช่นกัน เพราะมีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 1
เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูง 7-25 เมตร ผลแก่เต็มที่มีสีม่วงแดง ยางสีเหลือง ใบเดี่ยวรูปรี แข็งและเหนียว ผิวใบมัน ดอกออกเป็นคู่ที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองติดอยู่จนเป็นผล ผลมีเปลือกนอกค่อนข้างแข็ง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 เซนติเมตร เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือก ผลมังคุดมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเหมือนสตรอว์เบอรี่ที่ยังไม่สุกหรือส้มที่มีรสหวาน เมล็ดไม่สามารถใช้รับประทานได้
มังคุดเป็นผลไม้จากเอเชียที่ได้รับความนิยมมาก มังคุดได้รับขนานนามว่าเป็น "ราชินีของผลไม้" อาจเป็นเพราะด้วยลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบเลี้ยงติด อยู่ที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของพระราชินีส่วนเนื้อในก็มีสีขาวสะอาด มีรสชาติที่แสนหวาน อร่อยอย่างยากที่จะหาผลไม้อื่นมาเทียบได้[1][2] ปัจจุบันมีการเพาะปลูกและขายบนเกาะบางเกาะในหมู่เกาะฮาวาย ต้นมังคุดต้องปลูกในสภาพอากาศอบอุ่น หากอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 4 °C จะทำให้ต้นมังคุดตายได้

แพนด้าแดง


แพนด้าแดง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailurus fulgens อยู่ในวงศ์ Ailuridae มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแรคคูนและกระรอกรวมกัน หัวมีขนาดใหญ่ จมูกแหลม ขาสั้นคล้ายหมี ขนตามลำตัวมีหลากหลาย มีทั้งสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลเหลืองและน้ำตาลแดง ขนบริเวณลำคอยาวและนุ่มฟู หางเป็นพวงยาวคล้ายกับหางของกระรอก มีลายปล้องสีน้ำตาลแดงสลับขาว มีความลำตัวและหัว 51 - 64 ซ.ม. หางยาว 50 - 63 ซ.ม. มีน้ำหนัก 3 - 4.5 ก.ก.


มีการกระจายพันธุ์พบตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ภาคเหนือของประเทศอินเดีย ทิเบต เนปาล ภูฏาน จีน ภาคเหนือของพม่า และภาคเหนือของประเทศลาวบริเวณที่ติดกับจีน โดยอาศัยอยู่ในป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 1,500 - 4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
มีพฤติกรรมออกหากินตามลำพัง มักหากินบนต้นไม้ กินอาหารเพียงไม่กี่ประเภท โดยกินเฉพาะใบไม้อ่อนเท่านั้น บางครั้งอาจกินไข่นก สัตว์ขนาดเล็กและผลไม้บางชนิดด้วย ใช้เวลาตอนกลางวันในการนอนหลับพักผ่อน แพนด้าแดงตัวผู้จะหวงอาณาเขตมากและมักเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ แต่แพนด้าแดงตัวเมียจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ครอบครองของตัวเอง บางครั้งตัวผู้อาจเข้ามาหากินภายในอาณาเขตของตัวเมียด้วย โดยทั่วไปอาณาเขตของแพนด้าแดงตัวผู้จะกว้างประมาณ 1.1 - 9.6 ตารางกิโลเมตร ส่วนอาณาเขตของตัวเมียจะกว้างประมาณ 1.0 - 1.5 ตารางกิโลเมตร ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยตัวเมียจะยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์อยู่เพียง 1 - 3 วันเท่านั้น แม่แพนด้าแดงใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 90 - 145 และจะออกลูกในโพรงไม้หรือถ้ำเล็ก ๆ ออกลูกครั้งละ 4 ตัว ลูกที่เกิดใหม่จะยังมองไม่เห็น มีสีขนตามลำตัวออกสีเหลืองอ่อน และจะกินนมแม่อยู่นาน 5 เดือน หลังจากนั้นจึงหย่านมและเปลี่ยนมากินใบไผ่แทน เมื่ออายุได้ 2 ปี ก็จะแยกออกไปหากินตามลำพัง มีข้อสังเกตว่า แพนด้าแดงที่อยู่บริเวณภาคเหนือของอินเดียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวที่อยู่ค่อนมาทางเอเชียตะวันออก อาจเป็นไปได้ว่าเป็นพันธุ์ย่อย (Subspecies) แต่ยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้มากนัก สถานะปัจจุบันของแพนด้าแดงในสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในสถานะ DD (Data Defficient) หมายถึง มีข้อมูลไม่เพียงพอในการประเมินความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
สำหรับในประเทศไทย สวนสัตว์พาต้าเคยนำเข้ามาเลี้ยงในสวนสัตว์ครั้งหนึ่ง โดยให้อยู่ในห้องปรับอากาศ

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สเต็ก


คำแปลสเต็กต่างๆ
สเต็กส่วนการที่จะรับประทานสเต็กให้อร่อย เราต้องรู้จักกับส่วนต่างๆของเนื้อวัว และเทคนิคการเลือกเนื้อแต่ละชนิดให้เหมาะสมกับอาหารแต่ละจาน
Chunk= เนื้อสันคอ เนื้อส่วนนี้มักจะมาทำเป็นแฮมเบอร์เกอร์
Rib=เนื้อซี่โครง ส่วนมากนำไปย่างหรือทอดโดยไม่ต้องเลาะกระดูกออก
Sirloin=เนื้อเซอร์ลอยด์เป็นเนื้อสันที่นุ่มมากที่สุดในบรรดาเนื้อส่วนต่างๆ ส่วนที่ติดกับกระดูกรูปตัว T เรามักจะเรียกว่า "ทีโบนสเต็ก"
Tenderloin=เนื้อสันใน เป็นเนื้อที่นุ่มและแพงที่สุด นิยมทำสเต็ก เช่น ฟิเลต์มิยอง
Round=เนื้อสะโพก เป็นเนื้อที่เหนียว นิยมไปอบหรือสตูว์
Shank=เนื้อน่อง เป็นเนื้อที่เหนียวที่สุด มักนิยมทำสตูว์หรือตุ๋น
คราวนี้เราคงไม่พลาดในการเลือกซื้อเนื้อส่วนต่างๆแล้วนะครับ

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ปลาปิรันยา




เมื่อประมาณกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2529 ได้มีข่าวฮือฮากันมาก เกี่ยวกับมหาภัยปิรันยาออกอาละวาดในแม่น้ำเจ้าพระยา เรื่องเริ่มมาจากการ ที่มีช่างไม้ผู้หนึ่งออกวางตาข่ายดักปลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณบางรัก ใน ตอนเช้าวันที่ 15 พฤษภาคม พอใกล้จะถึงเวลาเที่ยงก็มีปลา ซึ่งพิสูจน์ภาย หลังว่าเป็นปลาปิรันยามาติดตาข่าย และขณะจะทำการปลดปลาจากตาข่าย ปลาได้กัดที่นิ้วกลางข้างซ้ายจนเกือบขาด ปลาที่จับได้เป็นปลาปิรันยาสีแดง ตัวผู้ที่โตเต็มวัย มีลำตัวยาวถึง 20 เซนติเมตร และเชื่อว่าเป็นปลาพ่อพันธุ์ เนื่องจากพบน้ำเชื้อตัวผู้ในปริมาณสมบูรณ์พร้อมที่จะแพร่พันธุ์ได้ จากการ คาดคะเนในเวลานั้นจึงน่าจะเป็นปลาที่มีผู้เลี้ยงอยู่แล้วนำไปปล่อยลงใน แม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากเป็นปลาที่ทางกรมประมงห้ามเลี้ยงและห้ามสั่ง เข้ามาในประเทศอย่างเด็ดขาด หรืออาจเป็นปลาที่หลุดออกไปจากบ่อเลี้ยง ในขณะที่กำลังมีน้ำท่วมอยู่ในเวลานั้นก็ได้
ปลาปิรันยาเป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ Serrasaimidae จัดอยู่ในสกุล Serrasalmus ซึ่งมีปลาอยู่ในสกุลนี้ทั้งสิ้น 16 ชนิด แต่มีเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้น ที่มีนิสัยดุร้ายและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ลำตัวแบนมากตามแนวตั้ง ลักษณะ ที่สำคัญคือส่วนปาก โดยเฉพาะขากรรไกรล่างจะยื่นยาวออกมากกว่าขา กรรไกรบน และมีฟันที่คมกริบเรียงเป็นแถวอยู่บนขากรรไกรที่ทรงพลังมาก ครีบหลังจะอยู่ตรงจุดสูงสุดของแนวสันหลัง ครีบไขมัน (adipose fin) อยู่ ต่อจากครีบหลังแลเห็นได้ชัดเจน ครีบหางแผ่กว้างเว้าตอนกลางครีบเล็กน้อย ครีบก้นค่อนข้างยาว มักจะยาวกว่าครีบหลังและมีปลายยื่นแหลมออกมา ครีบท้องและครีบหูมีขนาดเล็ก เกล็ดบนลำตัวเป็นแบบวงกลม (cycloid) มีขนาดเล็กมากและหลุดร่อนออกได้ง่าย
ปลาปิรันยาอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่หลายร้อยตัวในแม่น้ำและลำธาร ใน บริเวณอเมริกากลางและแถบเหนือของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะในแถบ ลุ่มน้ำอะเมซอน ปกติออกหากินเป็นฝูง ว่ายน้ำได้รวดเร็วเมื่อมีเหยื่อทุกตัวจะ พุ่งเข้าหาเหยื่อพร้อมๆ กัน อาหารในธรรมชาติได้แก่ ปลาที่บาดเจ็บหรือปลา ที่ป่วย ปลาชนิดนี้จึงช่วยในการควบคุมสุขภาพปลาในแหล่งน้ำนั้นๆ ด้วยการ กำจัดปลาที่อ่อนแอหรือปลาเป็นโรค อันตรายของปลาปิรันยาต่อมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ นับว่าน้อยมาก แต่ถ้ามีแผลเลือดไหลออกมา จะเป็นตัวกระตุ้นให้ปลาเข้ากัดกินอย่างรวดเร็วจนเหลือแต่โครงกระดูกภายใน ระยะเวลาอันสั้น เพราะกรามที่แข็งแรงและฟันที่คมกริบจะกัดเนื้อออกเป็น ชิ้นได้โดยการงับเพียงครั้งเดียวและเส้นเอ็นต่างๆ ที่ยึดกระดูกก็จะขาดออก อย่างง่ายดาย ในสภาพปกติชาวพื้นเมืองที่อยู่ในบริเวณลำธารที่มีปลาปิรันยาอาศัยอยู่สามารถลงอาบน้ำในลำธารได้อย่างสบายและพวกเขาชอบล่าปลา ชนิดนี้มาทำเป็นอาหาร เพราะเนื้อปลานี้มีรสชาติอร่อยมากชนิดหนึ่ง ผู้ที่ เคยลองชิมมาแล้วกล่าวว่าเนื้อมีลักษณะคล้ายเนื้อปลาบู่
ปลาปิรันยา 3 ชนิด ที่สำคัญซึ่งมีนิสัยดุร้ายและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ นั้น มีดังนี้
1. ปลาปิรันยาแดง (Serrasalmus nattereri) พบทั่วไปในลุ่มแม่น้ำ อะเมซอน ลุ่มน้ำโอริโนโค และลุ่มน้ำปารานา ความยาวลำตัว 30 เซนติเมตร ลำตัวด้านหลังออกสีเงินและใต้ท้องสีแดงเรื่อๆ ครีบหลังและครีบหางสีดำ ชนิดนี้เป็นชนิดที่ดุร้ายมากและเป็นชนิดที่พบในลำน้ำเจ้าพระยา เมื่อปี พ.ศ. 2529
2. ปลาปิรันยาเขียว (Serrasalmus piraya) มีลักษณะคล้ายกับ ปลาปิรันยาสีแดง ความยาวลำตัวถึง 35 เซนติเมตร ด้านใต้ท้องสีออก เขียวแกมฟ้า ตัวที่มีอายุมากจะมีครีบไขมันที่ยื่นยาวออกต่างจากปลา ปิรันยาชนิดอื่นๆ
3. ปลาปิรันยาขาวหรือปลาปิรันยาจุด (Serrasalmus rhombeus) พบ อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำอะเมซอนและแถบทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ลำตัวยาวถึง 38 เซนติเมตร ลำตัวมีลักษณะยาวเรียวกว่าชนิดอื่นๆ สีเทาเข้ม จนถึงเขียวมะกอก บนสีข้างมีจุดสีคล้ำเต็มไปหมด ชนิดนี้มีนิสัยดุร้ายน้อยกว่า ชนิดอื่นๆ
ปลาปิรันยานี้สามารถนำเอามาเลี้ยงไว้ได้ในตู้เลี้ยงปลา ปลาปิรันยา- แดงและปลาปิรันยาขาวเพาะพันธุ์ในตู้เลี้ยงได้ ไข่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร ฟักออกภายในเวลา 2-9 วัน อีก 8-9 วัน ต่อมาลูกปลาจะว่าย บนพื้นน้ำได้อย่างอิสระและเติบโตอย่างรวดเร็ว
ถึงแม้จะเชื่อได้ว่าปลาปิรันยาไม่อาจจะแพร่พันธุ์ได้ในแม่น้ำเจ้าพระ- ยา เนื่องจากปลาชนิดนี้ไม่อาจทนน้ำเค็มได้ และสภาพน้ำในแม่น้ำเจ้า พระยาก็อยู่ในสภาพเกือบเน่าเสียไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ปลามหาภัยนี้ เมื่อหลุดออกไปจากบ่อเลี้ยงหรือมีผู้ลักลอบปล่อยลงแหล่งน้ำอาจจะมีชีวิต อยู่ได้ชั่วคราว โดยเฉพาะในฤดูฝนน้ำในแม่น้ำจะเจือจางเพียงพออาจจะก่อ ให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ได้ กรมประมงได้มีพระราชกำหนดห้ามนำเข้ามา ภายในประเทศอย่างเด็ดขาด ผู้ใดมีไว้ในครอบครองต้องทำลายหรือนำไปส่ง มอบให้แก่กรมประมงเพื่อทำลาย อันเป็นการป้องกันมิให้เกิดมีปลามหาภัย ชนิดนี้ขึ้นมาในประเทศไทยได้ในอนาคต

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กระซู่

กระซู่


ชื่อสามัญ : Sumatran Rhino
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Didermocerus sumatraensis กระซู่

ลักษณะ : กระซู่เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแรด แต่มีลักษณะลำตัวเล็กกว่า ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ 1-1.5 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม มีหนังหนาและมีขนขึ้นปกคลุมทั้งตัว โดยเฉพาะในตัวที่มีอายุน้อย ซึ่งขนจะลดน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น สีลำตัวโดยทั่วไปออกเป็นสีเทาคล้ายสีขี้เถ้า ด้านหลังลำตัวจะปรากฏรอยพับของหนังเพียงพับเดียวตรงบริเวณด้านหลังของขาคู่หน้า กระซู่ทั้งสองเพศมีนอ 2 นอ นอหน้ามีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนนอหลังมีความยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร หรือเป็นเพียงตุ่มนูนขึ้นมาในตัวเมีย

อุปนิสัย : กระซู่ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทรับกลิ่นดีมาก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ พวกใบไม้ และผลไม้ป่าบางชนิด ปกติกระซู่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ หรือตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว มีระยะตั้งท้อง 7-8 เดือน ในที่เลี้ยงกระซู่มีอายุยืน 32 ปี

ที่อยู่อาศัย : กระซู่อาศัยอยู่ตามป่าเขาที่มีความหนารกทึบ ลงมาอยู่ในป่าที่ราบต่ำ ในตอนปลายฤดูฝนซึ่งในระยะนั้นมีปรักและน้ำอยู่ทั่วไป

เขตแพร่กระจาย : กระซู่มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม มลายู สุมาตรา และ บอเนียว ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบกระซู่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่งได้แก่ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี และในบริเวณอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง ได้แก่ แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา และ บริเวณป่ารอยต่อระหว่างประเทศกับมาเลเซีย

สถานภาพ : ปัจจุบันกระซู่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย อนุสัญญา CITES จัดไว้ใน Appendix I และ U.S. Endanger Species Act จัดไว้ในพวกที่ใกล้จะสูญพันธุ์
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: กระซู่ปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากโลก เนื่องจากถูกล่าเพื่อเอานอ และอวัยวะทุกส่วนของตัว ซึ่งมีฤทธิ์ในทางเป็นยา กระซู่จึงถูกล่าอยู่เนืองๆ ประกอบกับกระซู่มีอยู่ในธรรมชาติน้อย และ ประชากรแต่ละกลุ่มและแม้แต่กลุ่มเดียวกันก็อยู่ห่างกันมากไม่มีโอกาสจับคู่ขยายพันธุ์ได้

พะยูน

พะยูน (หมูน้ำ / ปลาดูหยง)

ชื่อสามัญ : Dugong (Sea Cow)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dugong dugon
ลักษณะทั่วไป : พะยูนถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2319 โดยได้ตัวอย่างแบบที่จับได้จากน่านน้ำแหลมกู๊ดโฮบถึงฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายปลาวาฬ เดิมพะยูนจึงถูกจัดรวมอยู่ในอันดับเดียวกันคือ Cetacea แต่จากการศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยละเอียดพบว่าแตกต่างกันมาก ขนาดเล็กกว่า หัวกลม รูจมูกแยกจากกัน ปากเล็ก มีฟันหน้าและฟันกรามพัฒนาดี ไม่เป็นฟันยอดแหลมธรรมดาเหมือน ๆ กันอย่างปลาวาฬ และมีเส้นขนที่ริมฝีปากตลอดชีวิต จึงมีการจำแนกออกตั้งเป็นอันดับใหม่ คือ Sirenia >> จากการศึกษาสายวิวัฒนาการของพะยูน พบว่ามีความใกล้ชิดกับพวกช้างมากกว่าปลาวาฬ และต้นบรรพบุรุษของพะยูน ตั้งแต่ครั้งยุค Eocene ยังเป็นสัตว์บกมี 4 เท้า แต่เท้าคู่หลังลดขนาดเล็กลงกว่าเท้าคู่หน้ามาก วิวัฒนาการต่อ ๆ มา เท้าหลังจึงหดหายไป และพัฒนารูปร่างมาเป็นอย่างปัจจุบัน กลายเป็นสัตว์อย่างสมบูรณ์ >> ลักษณะเด่นของพะยูน คือ เป็นสัตว์น้ำเลี้ยงลูกด้วยนมเช่นเดียวกับโลมาและปลาวาฬ แตกต่างกันที่พะยูนไม่มีครีบหลัง แต่มีครีบหางซึ่งแผ่แบนแยกเป็นสองแฉกคล้ายหางปลาในแนวราบและไม่มีแกนกระดูกเช่นเดียวกัน ขณะว่ายน้ำครีบหางนี้จะพัดโบกขึ้น - ลง ไม่เหมือนกับการพัดโบกไปมาในแนวตั้งอย่างครีบอกของปลา ขาคู่หน้าแต่ละข้างมีนิ้ว 5 นิ้ว พัฒนารูปร่างเรียง ติดกันเป็นใบพายคล้ายครีบอกของปลา ที่ปลายนิ้วแต่ละนิ้วของพะยูนจะไม่มีเล็บ ซึ่งต่างจากมานาตี หรือ พะยูนแถบทวีปอเมริกา ขาหลังลดรูปหายไป ส่วนหัวกลมมน มีปากอยู่ด้านล่างของหัว ริมฝีปากบนหนา มีขนหนวดขึ้นประปราย เมื่อโตเต็มที่ พะยูนตัวผู้จะมีเขี้ยวยาว 1 คู่ ที่บริเวณขากรรไกรบน ลักษณะคล้ายงาช้างยื่นลงมาชัดเจน ขนาดตัวของพะยูน มีความยาวรวมครีบหางประมาณ 2.2-3.5 เมตร ขนาดของ ครีบหางกว้าง ประมาณ 0.75-0.85 เมตร ขนาดวัดรอบอกประมาณ 1.6-2.5 เมตร ครีบอกหรือขาหน้ายาวประมาณ 0.35-0.45 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 280-380 กิโลกรัม

นิสัย : พะยูนเป็นสัตว์น้ำที่หายใจด้วยปอด ปกติดำน้ำได้ไม่ลึกและอยู่ใต้น้ำไม่นานอย่างปลาโลมาและปลาวาฬ ต้องโผล่ขึ้นมาหายใจเหนือผิวน้ำเสมอ ๆ ช่วงกลางวันมักชอบอาศัยอยู่บริเวณทะเลลึก ถึงตอนกลางคืนจึงจะเข้ามาอยู่ตามชายฝั่งน้ำตื้น เพื่อหากินหญ้าทะเล ซึ่งเป็นพวกพืชสีเขียวที่ขึ้นอยู่ตามหาดโคลนน้ำตื้นที่แสงแดดส่องถึง ลักษณะการแทะเล็มหญ้าทะเลของพะยูนดูคล้ายการกินหญ้าของวัว ทำให้ได้ชื่อเรียกภาษาอังกฤษ อีกชื่อว่าวัวทะเล (Sea Cow) มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัว หรืออาจหากินรวมกันเป็นฝูงใหญ่ได้

อาศัย : พบอาศัยอยู่ตามฝั่งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของทวีปแอฟริกา อินเดีย ศรีลังกา แถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกีนี และตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ในประเทศไทยเคยมีพะยูนอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้านของประเทศมีแหล่งมาอยู่สำคัญคือบริเวณชายฝั่งทะเล อุทยานแห่งชาติหาด เจ้าไหม และเกาะลิบง จังหวัดตรัง คาดว่ายังมีพะยูนเหลืออยู่

อาหาร : กินแต่หญ้าทะเลเป็นอาหารหลัก

การสืบพันธุ์ : ระยะตั้งท้องนานประมาณ 1 ปี ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว ออกลูกใต้น้ำ ลูกพะยูน แรกเกิดจะต้องรีบโผล่ขึ้นหายใจเหนือน้ำทันที ต่อจากนั้นจะว่ายน้ำติดตามกินนมแม่ ซึ่งมีเต้านมอยู่ใต้ครีบอก ประมาณ 1 ปี จึงจะหย่านม ในช่วงที่ลูกพะยูนยังเล็กอยู่ แม่พะยูนจะ ป้องก้นอันตรายจากศัตรูโดยใช้ครีบอกประคองลูกอยู่ข้างตัว ทำให้ผู้พบเห็นมองดูเหมือน แม่อุ้มลูกไว้แนบอก จึงเรียกชื่อกันว่า “เงือก” อีกชื่อหนึ่ง พะยูนจะโตเต็มที่อายุประมาณ 13-14 ปี อายุยืนประมาณ 40 ปี

สถานภาพ : ปัจจุบันจำนวนประชากรของพะยูนในถิ่นกำเนิดทุกแห่งลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว จนน่าวิตกว่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้เนื่องจากการล่า เพื่อเอาเนื้อมาเป็นอาหาร หรือหลงติดอวนจับปลาของชาวประมงจนเสียชีวิต และความเชื่อที่ว่าน้ำมันพะยูนใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยได้ ประกอบกับพะยูนแพร่พันธุ์ได้ช้า และนิสัยการกินอาหารของพะยูนที่เลือกกินแต่หญ้าทะเลเป็นอาหารหลัก ซึ่งปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเลถูกทำลายลดน้อยลงจากมลพิษต่างๆ ที่ถูกปล่อยทิ้งลงสู่ทะเล ส่งผลให้พะยูนหาอาหารได้ยาก และเสี่ยงอันตราย จากสารพิษตกค้างทั้งในน้ำทะเล และที่สะสมในหญ้าทะเล พะยูนจัดเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

เก้งหม้อ

แ(เก้งดำ / เก้งดง)


ชื่อสามัญ : Fea\'s Muntjak (Fea\'s Barking Deer)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Muntiacus feae

ลักษณะทั่วไป : เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวยาว 88-100 เซนติเมตร นำหนักประมาณ 22 กิโลกรัม ลำตัวซีกบนสีน้ำตาลแก่ ซีกล่างสีน้ำตาลปนขาว หางสั้นซีกบนเป็นสีดำเข็ม ซีกล่างของหางสีขาวตัดกันสะดุดตามีเขาเฉพาะในตัวผู้ เขามีข้างละ 2 กิ่ง แต่ไม่สวยงามเท่าเก้ง ต่อมน้ำตาใหญ่มาก มีแอ่งน้ำตาใหญ่ ผลัดเขาทุก

นิสัย : ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบสูงๆ ที่เป็นป่าดงดิบไม่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ชอบอยู่กลุ่มละ 2 - 3 ตัว แต่โดยปกติแล้วชอบอยู่ลำพังตัวเดียวออกหากินตอนเช้าตรู่ พลบค่ำและตอนกลางคืน โดยจะออกมาหากิน ตามทุ่งโล่ง ชายป่า ท้องนา แถวที่มีลูกไม้ป่า ชอบกินดินโป่ง

ถิ่นอาศัย : พบทางภาคใต้ของประเทศไทย เทือกเขาตะนาวศรี ตามแนวชายแดนที่ติดต่อกับประเทศพม่า อาหาร : ใบไม้ ผลไม้บางชนิด หน่ออ่อนของต้นไม้ ใบหญ้า โดยเฉพาะหญ้าระบัดจะชอบมาก

การสืบพันธุ์ : ระยะตั้งท้องนานประมาณ 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว

สถานภาพ : สัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ปลาช่อน


ปลาช่อน

ชื่อสามัญ STRIPED SNAKE-HEAD FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Channa striatus
ถิ่นอาศัย แพร่กระจายตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ
อาหาร เนื้อสัตว์ต่าง ๆ
ขนาด ความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีราคาใช้ทำอาหารได้หลายรูปแบบ เช่น ตากแห้ง ปลาร้า ปลารมควัน

แมวลายหินอ่อน


แมวลายหินอ่อน

ชื่อสามัญ
Marble Cat
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pardofelis marmorata
ลักษณะ
เป็นแมวป่าขนาดกลาง น้ำหนักประมาณ 4 - 5 ก.ก. อาศัยอยู่ในป่าดงดิบและป่าดิบชื้น ส่วนใหญ่มักอยู่บนต้นไม้ ชอบออกหากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ แมลง งู นก หนู และลิงขนาดเล็ก

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร


นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
ชื่อสามัญ
White-eyed River-Martin
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pseudochelidon sirintarae
ลักษณะ
นกนางแอ่นชนิดลำตัวยาว 15 ซ.ม. พบครั้งแรกในประเทศไทย ปี 2511 ในบริเวณ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ จะเกาะนอนอยู่ในฝูงนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ตามใบอ้อ และ ใบสนุ่น โฉบจับแมลงเป็นอาหาร

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กุ้งก้ามกราม

กุ้งก้ามกราม

กุ้งก้ามกราม กุ้งน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrobrachium rosenbergii อยู่ในวงศ์ Palaemonidae มีเปลือกสีเขียวอมฟ้าหรือม่วง ก้ามยาวมีม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีปุ่มตะปุ่มตะป่ำ โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง แทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด อาหารได้แก่ ไส้เดือน ตัวอ่อนของลูกน้ำ ลูกไร ลูกปลาขนาดเล็ก ซากของสัตว์ต่างๆ และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง พบชุกชุมทำให้จับง่าย โดยเฉพาะในฤดูหนาว ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่างๆ แถบภาคกลางของประเทศไทย เช่น สุพรรณบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา และต่างประเทศด้วย เช่น ที่ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

กุ้งก้ามกราม มีความยาวประมาณ 13 ซ.ม. พบใหญ่สุดถึง 1 ฟุต น้ำหนักเป็นกิโล เป็นกุ้งที่ถูกใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ เผา หรือ ทอด เป็นต้น เพราะเนื้อมีมาก เนื้อแน่น มัน อร่อย ทำให้มีราคาที่ขายสูง ปัจจุบัน ยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงามด้วย กุ้งก้ามกราม มีชื่อเรียกที่ต่างออกไปมากมาย เช่น กุ้งแม่น้ำ กุ้งหลวง ขณะที่กุ้งตัวเมียที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่า เรียก กุ้งนาง เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552


ห่าน

ห่านเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายไม่ค่อยเป็นโรค ทนต่อสภาพแห้งแล้งและไม่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษแต่อย่างใด จึงเหมาะอย่างยิ่งกับสภาพโดยทั่วไปของประชาชนในต่างจังหวัดที่จะนำมาเลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหารประเภทโปรตีน อีกทั้งการเลี้ยงดูก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากหรือซับซ้อน และที่สำคัญก็คือใช้เงินลงทุนต่ำมาก วิธีการเลี้ยงอาจจะใช้เลี้ยงแบบขังเล้า หรือปล่อยเลี้ยงตามใต้ถุนบ้านหรือท้องนา ปล่อยให้เล็มหญ้าหรือวัชพืชอื่น ๆ และมีอาหารข้นซึ่งประกอบด้วยรำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก เสริมให้กินบ้างเท่านั้นก็เป็นเพียงพอแล้ว
กล่าวโดยทั่วไปแล้ว การเลี้ยงห่านยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ทั้งนี้เพราะปัญหาเกี่ยวกับความเชื่อถือในการบริโภคเนื้องห่านว่าเป็นอาหารแสลงอย่างเช่น ผู้ชายเมื่อบริโภคเนื้อห่านแล้วจะเกิดเป็นโรคเรื้อน หรือผู้หญิงหากบริโภคเนื้อห่านแล้วจะเป็นโรคผิดกระบูน หรือพิษแม่ลูกอ่อน ซึ่งแท้จริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้น โรคดังกล่าวหากจะเกิดขึ้นจะต้องมีตัวของเชื้อโรคนั้น ๆ เป็นสาเหตุจึงจะเกิดขึ้น หาใช่เป็นเพราะเนื้อห่าน มีบางรายเมื่อบริโภคเนื้อห่านแล้ว จะมีอาการแพ้บ้าง ซึ่งโอกาสที่จะเกิดขึ้นก็มีน้อยมาก เช่นเดียวกับคนบางคนที่แพ้ไข่ เนื้อ เนื้อหมู ไก่ กุ้ง หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ


นอกจากนั้นคนบางคนมีความคิดว่าเนื้อห่านเป้นอาหารสำหรับผู้มีอันจะกินเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากในสมัยก่อน ๆ ตามบ้านผู้มีฐานะดีจะเลี้ยงห่านกันบ้านละ 3-4 ตัว แต่แท้จริงที่มีผู้นิยมเลี้ยงไว้ตามบ้านนั้นก็เลี้ยงไว้เพื่อเฝ้าบ้านกันขโมยเท่านั้น
ในปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนโปรตีนและพลังงานของประชาชนทั่ว ๆ ไปซึ่งจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ มีผลเสียอย่างยิ่งต่อสมอง อันจะเป็นผลกระทบกระเทือนต่อการพัฒนาประเทศ สัตว์เลี้ยงที่จะช่วยเสริมแหล่งโปรตีนราคาถูกให้กับประชาชนโดยทั่วไปไม่ว่าในชนบทหรือในตัวเมืองอีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากไก่พื้นเมือง ไก่งวง เป็ดเทศ ก็คือ ห่าน
พันธุ์ห่านที่นิยมเลี้ยงกันมาก ได้แก่








นอกจากพันธุ์ห่านดังกล่าวแล้ว ยังมีการผสมข้ามพันธุ์เพื่อผลิตห่านลูกผสมสำหรับการค้าโดยเฉพาะ

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552



เป็ด


การเลี้ยงเป็ดในประเทศไทยมี 2 ประเภท คือ การเลี้ยงเพื่อเป็นแหล่งอาหารและการเลี้ยงเป็ดสวยงาน การเลี้ยงเป็ดเพื่อใช้เป็นอาหาร (ทั้งเนื้อและไข่) ซึ่งมีเป็นอยู่ไม่กี่พันธุ์ ที่เราได้ยินบ่อยๆ ได้แก่ เป็ดปักกิ่งไง คงต้องทำความรู้จักกับพันธุ์เป็ด การเลี้ยงเป็ดเพื่อความสวยงานพบได้น้อย เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง หายาก ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงพบได้ในสวนสัตว์ หรือคนที่รัก (มีฐานะ) พันธุ์เป็ดที่สำคัญได้แก่


1.Pekin - Most common white duck, excellent for meat production.
2.Rouen - Domestic non-flying cousin of wild Mallard.
3.Cayuga - Greenish, iridescent shine in the sunlight.
4.Buff - Fine multipurpose breed.
5.Blue Swedish - Hardy, calm breed, good forager.
6.
Mallard - True flying ducks, same as in wild.
7.Golden 300 Hybrid - Unexcelled egg layer.
8.White Golden Layer - Another high production breed.
9.Khaki Campbell - Good egg layer and forager.

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วัวอเมริกันบราห์มัน

วัวอเมริกันบราห์มัน หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่าวัวบราห์มัน เป็นวัวอินเดีย (Bos indicus) ที่ได้รับการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ขึ้นในสหรัฐอเมริกา กล่าวกันว่าพันธุ์ที่ ประกอบกันขึ้นเป็นวัว บราห์มันนี้ ได้แก่ กุสเซอร์รัส (Guzerat) เนลลอร์ (Nellore) กีรร์ (Gyr) กฤษณะ (Krishna Valley)
วัวอินเดียกลุ่มแรกที่นำเข้าไปเลี้ยงในสหรัฐอเมริกานั้น มีมาตั้งแต่สมัยสงครามกลางเมืองของประเทศนี้ ต่อจากนี้ก็มีการนำวัวอินเดียเข้าไปเลี้ยงเป็นระยะๆ และมลรัฐ เท็กซัส เป็นถิ่นดั้งเดิมแรกเริ่มที่สำคัญในการปรับปรุงวัวพันธุ์อเมริกันบราห์มันจุดมุ่งหมายหลักของการสร้างพันธุ์วัวบราห์มันขึ้นมาคือ การสร้างพันธุ์วัวให้มีความอดทน และมีร่างกายแข็งแรง ทำกำไรให้แก่ผู้เลี้ยงได้ ไม่ว่าอยู่ในสภาพร้อนหรือ สภาพอากาศหนาว และเพื่อให้การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุดได้มาตรฐาน ในสหรัฐอเมริกาจึงได้จัดตั้งสมาคมผู้เลี้ยงวัวอเมริกันบราห์มัน (American Brahman Breeders Association - ABBA)ขึ้นในปีพ.ศ. 2467 Mr. J.W. Sartwelle จาก Houston เลขาธิการคนแรกของสมาคม ABBA เสนอชื่อวัวที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่นี้ว่า " อเมริกันบราห์มัน " และได้รับการยอมรับเป็นชื่อของวัวพันธุ์ใหม่นี้ และได้มีการจัดทำสมุดทะเบียนพันธุ์ประวัติ (Herd book) เพื่อบันทึกประวัติสายพันธุ์ของวัวบราห์มัน ขึ้น เพื่อรักษามาตรฐานพันธุ์วัวบราห์มันจึงกลายเป็นพันธุ์วัวเนื้อพันธุ์แท้พันธุ์แรกสุดที่ปรับปรุงขึ้นในประเทศอเมริกา บรรพบุรุษของวัวบราห์มันที่มีชื่อเสียง ได้แก่ แมนโซ่ (Manso) เป็นพ่อวัวที่มีโครงสร้างและลักษณะกล้ามเนื้อตะโพกดี มีนิสัยเชื่อง โตเร็ว เชื่อกันว่า 75% ของวัวอเมริกันบราห์มันในอเมริกาสืบสายเลือดมาจากพ่อพันธุ์ตัวนี้ ลักษณะเด่นของวัวในสายพันธุ์นี้คือ ลำตัวลึกมาก มีกล้ามเนื้อตะโพกมาก มีอายุผสมพันธุ์ได้เร็ว ให้น้ำนมเลี้ยงลูกมาก ทำให้ลูกเติบโตเร็ว ตัวที่มีชื่อเสียงมากในสายพันธุ์นี้คือ Elefante Manso 226/3 ซึ่งให้ลูกหลานเป็นแชมป์เปี้ยนมากมาย
ซูการ์แลนด์ เล๊คคราต้า (Sugarland's Rexcrata) เป็นสายพันธุ์บราห์มันที่มีชื่อเสียงอีกสายพันธุ์หนึ่ง ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้คือ มีลำตัวยาว ลึก และโตเร็ว พ่อพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากของสายพันธุ์นี้คือ Sugarland's Rexcrata 229/3 ซึ่งให้ลูกเป็นแชมเปี้ยนถึงปี 1990 เป็นจำนวนถึง 44 ตัว จึงได้ตำแหน่งเป็น Register of Renoun ในลำดับที่ 2 นอกจากนั้นก็มีสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงสายพันธุ์อื่นอีกคือสายพันธุ์อิมเพอร์ราเตอร์ (Imperator) ลักษณะเด่นคือ เป็นวัว Black Pigment ทำให้สมารถทนร้อนได้ดี และในสภาพอากาศที่ร้อนจัดก็ยังสามารถเติบโตได้ดีมาก สายพันธุ์ซูวา (Suva) เป็นสายพันธุ์ที่ให้น้ำนมเลี้ยงลูกดี มีลักษณะรูปร่างสวยงาม ถ่ายทอดลักษณะที่ดีต่างๆ ไปยังลูกได้ดี พ่อพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมาก คือ ซูวา 203 (Suva 203) เป็นวัวที่ให้น้ำนมเลี้ยงลูกเป็นที่หนึ่งใน Sire Summary ปี 1989 ให้ลูกเป็นแชมเปี้ยนถึงปี 1990 ถึง 118 ตัว นอกจากสายพันธุ์บราห์มันเทาแล้ว บราห์มันแดงที่มีชื่อเสียง คือ Mr.America 61/9 ของฟาร์ม HK Ranch, Mr.Red Mayro 257/2 ของฟาร์ม วี-8 เป็นต้น

สืบเนื่องจากความดีเด่นของวัวบราห์มันของประเทศสหรัฐอเมริกานี้เอง ประเทศที่อยู่ในเขตร้อนต่างตระหนักดีว่า วัวพันธุ์นี้แหละเป็นวัวที่เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อน จึงได้มีการนำเข้าวัวบราห์มันจากอเมริกาซึ่งเป็นแหล่งต้นตอของพันธุ์นี้ไปเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก วัวบราห์มันที่เลี้ยงกันในมลรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ไม่ต่ำกว่า 61 ประเทศนั้นเป็นวัว บราห์มันที่ได้รับการจดทะเบียนของสมาคมผู้เลี้ยงวัวพันธุ์อเมริกันบราห์มัน (ABBA) ในปี 2530 มีเกินกว่า 925,000 ตัว การนำเข้าวัวอเมริกาบราห์มันสายเลือดดี เพื่อขยายพันธุ์เป็นพันธุ์แท้ หรือเพื่อปรับปรุงพันธุ์วัวพื้นเมืองหรือเพื่อใช้ประโยชน์ในการผสมข้ามกับวัวพันธุ์อื่น เป็นการลงทุนที่ช่วยย่นระยะเวลาการปรับปรุงพันธุ์วัวอย่างดีเพราะกว่าที่จะได้เป็นวังอเมริกา บราห์มันที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ เขาต้องใช้เวลาผสมและคัดเลือกพันธุ์สืบต่อเนื่องกันมาถึง 136 ปี การสร้างพันธุ์วัวเนื้อจากวัวอเมริกันบราห์มันวัวอเมริกาบราห์มันใช้สร้างวัวพันธุ์เนื้อขึ้นมาหลายพันธุ์ เนื่องจากวัวบราห์มันมีความดีเด่นหลายประการที่เหมาะสมกับเขตที่มีอากาศร้อน ยิ่งนำไปผสมกับวัวยุโรป ด้วยแล้วจะเป็นการรวบรวมลักษณะดีเยี่ยมของแต่ละฝ่ายเข้าด้วยกัน จะได้พันธุ์วัวพันธุ์ใหม่ที่มีความร้อน ทนโรค ทนแมลง และให้เนื้อคุณภาพดีเยี่ยม หลักการนี้เป็นที่ยอม รับกันในหมู่ผู้เลี้ยงวัวเนื้อทั้งนักวิชาการและนักปฏิบัติการจึงมีการสร้างพันธุ์วัวเนื้อขึ้นมาใหม่หลายพันธุ์ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เช่น
พันธุ์
สายเลือด
แบรงกัส
3/8 บราห์มัน 5/8 แองกัส
ชาร์เบย์
3/8 บราห์มัน 5/8 ชาโรเล่ย์
บราห์ฟอร์ด
3/8 บราห์มัน 5/8 เฮียร์ฟอร์ด
ชิมบราห์
3/8 บราห์มัน 5/8 ซิมเมนทอล
บราห์มูซีน
3/8 บราห์มัน 5/8 ลิมูซีน
เป็นต้น