
ทุเรียน เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio) (ถึงแม้ว่านักอนุกรมวิธานบางคนจัดให้อยู่ในวงศ์ทุเรียน (Durionaceae)ก็ตาม) ได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้ ผลมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นเฉพาะตัว และมีหนามแข็งปกคลุมทั่วเปลือก อาจยาวมากกว่า 30 ซม. และเส้นผ่าศูนย์กลางอาจมากกว่า 15 ซม. โดยทั่วไปมีน้ำหนัก 1 ถึง 3 กิโลกรัม ผลมีรูปรีถึงกลม เปลือกมีสีเขียวถึงน้ำตาล เนื้อในรับประทานได้ มีสีเหลืองซีดถึงแดง ขึ้นอยู่กับชนิด
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัวซึ่งเป็นส่วนผสมของสารระเหยที่ประกอบไปด้วย เอสเทอร์, คีโตน, และ สารประกอบกำมะถัน บางคนบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม ในขณะที่บางคนบอกว่ามีกลิ่นเหม็นรุนแรง กลิ่นของทุเรียนทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรงจากผู้ที่ไม่ชอบในกลิ่นของมัน ทำให้มีการห้ามนำทุเรียนเข้าในโรงแรม และในการขนส่งสาธารณะในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัวซึ่งเป็นส่วนผสมของสารระเหยที่ประกอบไปด้วย เอสเทอร์, คีโตน, และ สารประกอบกำมะถัน บางคนบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม ในขณะที่บางคนบอกว่ามีกลิ่นเหม็นรุนแรง กลิ่นของทุเรียนทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรงจากผู้ที่ไม่ชอบในกลิ่นของมัน ทำให้มีการห้ามนำทุเรียนเข้าในโรงแรม และในการขนส่งสาธารณะในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากนั้นทุเรียนยังเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงทั้งยังอุดมไปด้วยกำมะถันและคอเลสเตอรอล ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพราะหากกินเข้าไประดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วยังทำให้ร้อนในและรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว
ทุเรียนเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบรูไน, ประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศมาเลเซีย และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกมาประมาณ 600 ปีมาแล้ว ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษที่ชื่ออัลเฟรด รัสเซล วอลเลซได้พรรณนาถึงทุเรียนว่า "เนื้อในมันเหมือนคัสตาร์ดอย่างมาก รสชาติคล้ายอัลมอนด์" เนื้อในของทุเรียนกินได้หลากหลายไม่ว่าจะห่าม หรือสุกงอม และในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีการนำทุเรียนมาทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งเป็นอาหารคาวและอาหารหวาน แม้แต่เมล็ดก็ยังรับประทานได้เมื่อทำให้สุก
ทุเรียนเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบรูไน, ประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศมาเลเซีย และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกมาประมาณ 600 ปีมาแล้ว ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษที่ชื่ออัลเฟรด รัสเซล วอลเลซได้พรรณนาถึงทุเรียนว่า "เนื้อในมันเหมือนคัสตาร์ดอย่างมาก รสชาติคล้ายอัลมอนด์" เนื้อในของทุเรียนกินได้หลากหลายไม่ว่าจะห่าม หรือสุกงอม และในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีการนำทุเรียนมาทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งเป็นอาหารคาวและอาหารหวาน แม้แต่เมล็ดก็ยังรับประทานได้เมื่อทำให้สุก
ทุเรียนมีมากกว่า 30 ชนิด มีอย่างน้อย 9 ชนิดที่รับประทานได้ แต่มีเพียง Durio zibethinus ชนิดเดียว ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก มีตลาดเป็นสากล ชนิดที่เหลือมีขายแค่ในท้องถิ่นเท่านั้น ทุเรียนมีสายพันธุ์ประมาณ 100 สายพันธุ์ให้ผู้บริโภคเลือกรับประทาน นอกจากนี้ยังมีราคาสูงอีกด้วย ในประเทศไทยพบทุเรียนอยู่ 5 ชนิดคือ ทุเรียนรากขา (D. graveolens), ทุเรียนนก (D. griffithii), ชาเรียน (D. lowianus), ทุเรียนป่า (D. mansoni) และ ทุเรียน (D. zibethinus) ทุเรียนมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆ อีก คือ "ดือแย" (มลายู ใต้), "เรียน" (ใต้), "มะทุเรียน" (เหนือ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น