เมื่อประมาณกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2529 ได้มีข่าวฮือฮากันมาก เกี่ยวกับมหาภัยปิรันยาออกอาละวาดในแม่น้ำเจ้าพระยา เรื่องเริ่มมาจากการ ที่มีช่างไม้ผู้หนึ่งออกวางตาข่ายดักปลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณบางรัก ใน ตอนเช้าวันที่ 15 พฤษภาคม พอใกล้จะถึงเวลาเที่ยงก็มีปลา ซึ่งพิสูจน์ภาย หลังว่าเป็นปลาปิรันยามาติดตาข่าย และขณะจะทำการปลดปลาจากตาข่าย ปลาได้กัดที่นิ้วกลางข้างซ้ายจนเกือบขาด ปลาที่จับได้เป็นปลาปิรันยาสีแดง ตัวผู้ที่โตเต็มวัย มีลำตัวยาวถึง 20 เซนติเมตร และเชื่อว่าเป็นปลาพ่อพันธุ์ เนื่องจากพบน้ำเชื้อตัวผู้ในปริมาณสมบูรณ์พร้อมที่จะแพร่พันธุ์ได้ จากการ คาดคะเนในเวลานั้นจึงน่าจะเป็นปลาที่มีผู้เลี้ยงอยู่แล้วนำไปปล่อยลงใน แม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากเป็นปลาที่ทางกรมประมงห้ามเลี้ยงและห้ามสั่ง เข้ามาในประเทศอย่างเด็ดขาด หรืออาจเป็นปลาที่หลุดออกไปจากบ่อเลี้ยง ในขณะที่กำลังมีน้ำท่วมอยู่ในเวลานั้นก็ได้
ปลาปิรันยาเป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ Serrasaimidae จัดอยู่ในสกุล Serrasalmus ซึ่งมีปลาอยู่ในสกุลนี้ทั้งสิ้น 16 ชนิด แต่มีเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้น ที่มีนิสัยดุร้ายและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ลำตัวแบนมากตามแนวตั้ง ลักษณะ ที่สำคัญคือส่วนปาก โดยเฉพาะขากรรไกรล่างจะยื่นยาวออกมากกว่าขา กรรไกรบน และมีฟันที่คมกริบเรียงเป็นแถวอยู่บนขากรรไกรที่ทรงพลังมาก ครีบหลังจะอยู่ตรงจุดสูงสุดของแนวสันหลัง ครีบไขมัน (adipose fin) อยู่ ต่อจากครีบหลังแลเห็นได้ชัดเจน ครีบหางแผ่กว้างเว้าตอนกลางครีบเล็กน้อย ครีบก้นค่อนข้างยาว มักจะยาวกว่าครีบหลังและมีปลายยื่นแหลมออกมา ครีบท้องและครีบหูมีขนาดเล็ก เกล็ดบนลำตัวเป็นแบบวงกลม (cycloid) มีขนาดเล็กมากและหลุดร่อนออกได้ง่าย
ปลาปิรันยาอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่หลายร้อยตัวในแม่น้ำและลำธาร ใน บริเวณอเมริกากลางและแถบเหนือของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะในแถบ ลุ่มน้ำอะเมซอน ปกติออกหากินเป็นฝูง ว่ายน้ำได้รวดเร็วเมื่อมีเหยื่อทุกตัวจะ พุ่งเข้าหาเหยื่อพร้อมๆ กัน อาหารในธรรมชาติได้แก่ ปลาที่บาดเจ็บหรือปลา ที่ป่วย ปลาชนิดนี้จึงช่วยในการควบคุมสุขภาพปลาในแหล่งน้ำนั้นๆ ด้วยการ กำจัดปลาที่อ่อนแอหรือปลาเป็นโรค อันตรายของปลาปิรันยาต่อมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ นับว่าน้อยมาก แต่ถ้ามีแผลเลือดไหลออกมา จะเป็นตัวกระตุ้นให้ปลาเข้ากัดกินอย่างรวดเร็วจนเหลือแต่โครงกระดูกภายใน ระยะเวลาอันสั้น เพราะกรามที่แข็งแรงและฟันที่คมกริบจะกัดเนื้อออกเป็น ชิ้นได้โดยการงับเพียงครั้งเดียวและเส้นเอ็นต่างๆ ที่ยึดกระดูกก็จะขาดออก อย่างง่ายดาย ในสภาพปกติชาวพื้นเมืองที่อยู่ในบริเวณลำธารที่มีปลาปิรันยาอาศัยอยู่สามารถลงอาบน้ำในลำธารได้อย่างสบายและพวกเขาชอบล่าปลา ชนิดนี้มาทำเป็นอาหาร เพราะเนื้อปลานี้มีรสชาติอร่อยมากชนิดหนึ่ง ผู้ที่ เคยลองชิมมาแล้วกล่าวว่าเนื้อมีลักษณะคล้ายเนื้อปลาบู่
ปลาปิรันยา 3 ชนิด ที่สำคัญซึ่งมีนิสัยดุร้ายและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ นั้น มีดังนี้
1. ปลาปิรันยาแดง (Serrasalmus nattereri) พบทั่วไปในลุ่มแม่น้ำ อะเมซอน ลุ่มน้ำโอริโนโค และลุ่มน้ำปารานา ความยาวลำตัว 30 เซนติเมตร ลำตัวด้านหลังออกสีเงินและใต้ท้องสีแดงเรื่อๆ ครีบหลังและครีบหางสีดำ ชนิดนี้เป็นชนิดที่ดุร้ายมากและเป็นชนิดที่พบในลำน้ำเจ้าพระยา เมื่อปี พ.ศ. 2529
2. ปลาปิรันยาเขียว (Serrasalmus piraya) มีลักษณะคล้ายกับ ปลาปิรันยาสีแดง ความยาวลำตัวถึง 35 เซนติเมตร ด้านใต้ท้องสีออก เขียวแกมฟ้า ตัวที่มีอายุมากจะมีครีบไขมันที่ยื่นยาวออกต่างจากปลา ปิรันยาชนิดอื่นๆ
3. ปลาปิรันยาขาวหรือปลาปิรันยาจุด (Serrasalmus rhombeus) พบ อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำอะเมซอนและแถบทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ลำตัวยาวถึง 38 เซนติเมตร ลำตัวมีลักษณะยาวเรียวกว่าชนิดอื่นๆ สีเทาเข้ม จนถึงเขียวมะกอก บนสีข้างมีจุดสีคล้ำเต็มไปหมด ชนิดนี้มีนิสัยดุร้ายน้อยกว่า ชนิดอื่นๆ
ปลาปิรันยานี้สามารถนำเอามาเลี้ยงไว้ได้ในตู้เลี้ยงปลา ปลาปิรันยา- แดงและปลาปิรันยาขาวเพาะพันธุ์ในตู้เลี้ยงได้ ไข่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร ฟักออกภายในเวลา 2-9 วัน อีก 8-9 วัน ต่อมาลูกปลาจะว่าย บนพื้นน้ำได้อย่างอิสระและเติบโตอย่างรวดเร็ว
ถึงแม้จะเชื่อได้ว่าปลาปิรันยาไม่อาจจะแพร่พันธุ์ได้ในแม่น้ำเจ้าพระ- ยา เนื่องจากปลาชนิดนี้ไม่อาจทนน้ำเค็มได้ และสภาพน้ำในแม่น้ำเจ้า พระยาก็อยู่ในสภาพเกือบเน่าเสียไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ปลามหาภัยนี้ เมื่อหลุดออกไปจากบ่อเลี้ยงหรือมีผู้ลักลอบปล่อยลงแหล่งน้ำอาจจะมีชีวิต อยู่ได้ชั่วคราว โดยเฉพาะในฤดูฝนน้ำในแม่น้ำจะเจือจางเพียงพออาจจะก่อ ให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ได้ กรมประมงได้มีพระราชกำหนดห้ามนำเข้ามา ภายในประเทศอย่างเด็ดขาด ผู้ใดมีไว้ในครอบครองต้องทำลายหรือนำไปส่ง มอบให้แก่กรมประมงเพื่อทำลาย อันเป็นการป้องกันมิให้เกิดมีปลามหาภัย ชนิดนี้ขึ้นมาในประเทศไทยได้ในอนาคต
ปลาปิรันยาเป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ Serrasaimidae จัดอยู่ในสกุล Serrasalmus ซึ่งมีปลาอยู่ในสกุลนี้ทั้งสิ้น 16 ชนิด แต่มีเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้น ที่มีนิสัยดุร้ายและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ลำตัวแบนมากตามแนวตั้ง ลักษณะ ที่สำคัญคือส่วนปาก โดยเฉพาะขากรรไกรล่างจะยื่นยาวออกมากกว่าขา กรรไกรบน และมีฟันที่คมกริบเรียงเป็นแถวอยู่บนขากรรไกรที่ทรงพลังมาก ครีบหลังจะอยู่ตรงจุดสูงสุดของแนวสันหลัง ครีบไขมัน (adipose fin) อยู่ ต่อจากครีบหลังแลเห็นได้ชัดเจน ครีบหางแผ่กว้างเว้าตอนกลางครีบเล็กน้อย ครีบก้นค่อนข้างยาว มักจะยาวกว่าครีบหลังและมีปลายยื่นแหลมออกมา ครีบท้องและครีบหูมีขนาดเล็ก เกล็ดบนลำตัวเป็นแบบวงกลม (cycloid) มีขนาดเล็กมากและหลุดร่อนออกได้ง่าย
ปลาปิรันยาอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่หลายร้อยตัวในแม่น้ำและลำธาร ใน บริเวณอเมริกากลางและแถบเหนือของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะในแถบ ลุ่มน้ำอะเมซอน ปกติออกหากินเป็นฝูง ว่ายน้ำได้รวดเร็วเมื่อมีเหยื่อทุกตัวจะ พุ่งเข้าหาเหยื่อพร้อมๆ กัน อาหารในธรรมชาติได้แก่ ปลาที่บาดเจ็บหรือปลา ที่ป่วย ปลาชนิดนี้จึงช่วยในการควบคุมสุขภาพปลาในแหล่งน้ำนั้นๆ ด้วยการ กำจัดปลาที่อ่อนแอหรือปลาเป็นโรค อันตรายของปลาปิรันยาต่อมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ นับว่าน้อยมาก แต่ถ้ามีแผลเลือดไหลออกมา จะเป็นตัวกระตุ้นให้ปลาเข้ากัดกินอย่างรวดเร็วจนเหลือแต่โครงกระดูกภายใน ระยะเวลาอันสั้น เพราะกรามที่แข็งแรงและฟันที่คมกริบจะกัดเนื้อออกเป็น ชิ้นได้โดยการงับเพียงครั้งเดียวและเส้นเอ็นต่างๆ ที่ยึดกระดูกก็จะขาดออก อย่างง่ายดาย ในสภาพปกติชาวพื้นเมืองที่อยู่ในบริเวณลำธารที่มีปลาปิรันยาอาศัยอยู่สามารถลงอาบน้ำในลำธารได้อย่างสบายและพวกเขาชอบล่าปลา ชนิดนี้มาทำเป็นอาหาร เพราะเนื้อปลานี้มีรสชาติอร่อยมากชนิดหนึ่ง ผู้ที่ เคยลองชิมมาแล้วกล่าวว่าเนื้อมีลักษณะคล้ายเนื้อปลาบู่
ปลาปิรันยา 3 ชนิด ที่สำคัญซึ่งมีนิสัยดุร้ายและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ นั้น มีดังนี้
1. ปลาปิรันยาแดง (Serrasalmus nattereri) พบทั่วไปในลุ่มแม่น้ำ อะเมซอน ลุ่มน้ำโอริโนโค และลุ่มน้ำปารานา ความยาวลำตัว 30 เซนติเมตร ลำตัวด้านหลังออกสีเงินและใต้ท้องสีแดงเรื่อๆ ครีบหลังและครีบหางสีดำ ชนิดนี้เป็นชนิดที่ดุร้ายมากและเป็นชนิดที่พบในลำน้ำเจ้าพระยา เมื่อปี พ.ศ. 2529
2. ปลาปิรันยาเขียว (Serrasalmus piraya) มีลักษณะคล้ายกับ ปลาปิรันยาสีแดง ความยาวลำตัวถึง 35 เซนติเมตร ด้านใต้ท้องสีออก เขียวแกมฟ้า ตัวที่มีอายุมากจะมีครีบไขมันที่ยื่นยาวออกต่างจากปลา ปิรันยาชนิดอื่นๆ
3. ปลาปิรันยาขาวหรือปลาปิรันยาจุด (Serrasalmus rhombeus) พบ อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำอะเมซอนและแถบทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ลำตัวยาวถึง 38 เซนติเมตร ลำตัวมีลักษณะยาวเรียวกว่าชนิดอื่นๆ สีเทาเข้ม จนถึงเขียวมะกอก บนสีข้างมีจุดสีคล้ำเต็มไปหมด ชนิดนี้มีนิสัยดุร้ายน้อยกว่า ชนิดอื่นๆ
ปลาปิรันยานี้สามารถนำเอามาเลี้ยงไว้ได้ในตู้เลี้ยงปลา ปลาปิรันยา- แดงและปลาปิรันยาขาวเพาะพันธุ์ในตู้เลี้ยงได้ ไข่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร ฟักออกภายในเวลา 2-9 วัน อีก 8-9 วัน ต่อมาลูกปลาจะว่าย บนพื้นน้ำได้อย่างอิสระและเติบโตอย่างรวดเร็ว
ถึงแม้จะเชื่อได้ว่าปลาปิรันยาไม่อาจจะแพร่พันธุ์ได้ในแม่น้ำเจ้าพระ- ยา เนื่องจากปลาชนิดนี้ไม่อาจทนน้ำเค็มได้ และสภาพน้ำในแม่น้ำเจ้า พระยาก็อยู่ในสภาพเกือบเน่าเสียไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ปลามหาภัยนี้ เมื่อหลุดออกไปจากบ่อเลี้ยงหรือมีผู้ลักลอบปล่อยลงแหล่งน้ำอาจจะมีชีวิต อยู่ได้ชั่วคราว โดยเฉพาะในฤดูฝนน้ำในแม่น้ำจะเจือจางเพียงพออาจจะก่อ ให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ได้ กรมประมงได้มีพระราชกำหนดห้ามนำเข้ามา ภายในประเทศอย่างเด็ดขาด ผู้ใดมีไว้ในครอบครองต้องทำลายหรือนำไปส่ง มอบให้แก่กรมประมงเพื่อทำลาย อันเป็นการป้องกันมิให้เกิดมีปลามหาภัย ชนิดนี้ขึ้นมาในประเทศไทยได้ในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น