วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เก้งหม้อ

แ(เก้งดำ / เก้งดง)


ชื่อสามัญ : Fea\'s Muntjak (Fea\'s Barking Deer)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Muntiacus feae

ลักษณะทั่วไป : เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวยาว 88-100 เซนติเมตร นำหนักประมาณ 22 กิโลกรัม ลำตัวซีกบนสีน้ำตาลแก่ ซีกล่างสีน้ำตาลปนขาว หางสั้นซีกบนเป็นสีดำเข็ม ซีกล่างของหางสีขาวตัดกันสะดุดตามีเขาเฉพาะในตัวผู้ เขามีข้างละ 2 กิ่ง แต่ไม่สวยงามเท่าเก้ง ต่อมน้ำตาใหญ่มาก มีแอ่งน้ำตาใหญ่ ผลัดเขาทุก

นิสัย : ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบสูงๆ ที่เป็นป่าดงดิบไม่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ชอบอยู่กลุ่มละ 2 - 3 ตัว แต่โดยปกติแล้วชอบอยู่ลำพังตัวเดียวออกหากินตอนเช้าตรู่ พลบค่ำและตอนกลางคืน โดยจะออกมาหากิน ตามทุ่งโล่ง ชายป่า ท้องนา แถวที่มีลูกไม้ป่า ชอบกินดินโป่ง

ถิ่นอาศัย : พบทางภาคใต้ของประเทศไทย เทือกเขาตะนาวศรี ตามแนวชายแดนที่ติดต่อกับประเทศพม่า อาหาร : ใบไม้ ผลไม้บางชนิด หน่ออ่อนของต้นไม้ ใบหญ้า โดยเฉพาะหญ้าระบัดจะชอบมาก

การสืบพันธุ์ : ระยะตั้งท้องนานประมาณ 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว

สถานภาพ : สัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น