วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กล้วย



กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำไท กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว กล้วยไข่ กล้วยตานี กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยส้ม กล้วยนาค กล้วยหิน กล้วยงาช้าง บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย

มะม่วง


มะม่วงเป็นไม้ผลขนาดใหญ่ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ปลูกได้ในดินทั่วไป ยกเว้นดินเค็มและดินที่มีน้ำขัง ถ้าปลูกในดินร่วนซุยมีอินทรีย์วัตถุมาก และมีการระบายน้ำดีก็จะยิ่งให้ผลผลิตดี นอกจากนี้มะม่วงยังมีความต้านทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี จะเริ่มให้ผลหลังจากการปลูกด้วยกิ่งทาบประมาณ 3 ปี สามารถให้ผลผลิตมากกว่า 15 ปี และผลผลิตจะสูงขึ้นเฉลี่ยปีที่ 8 ประมาณ 50-100 กก./ต้น โดยเฉลี่ยอายุจากดอกบาน เก็บผลแก่อยู่ระหว่าง 90-115 วัน น้ำหนักผลมะม่วงเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 260 กรัม ฤดูกาล ผลผลิตอยู่ระหว่างปลายเดือนมีนาคม-มิถุนายน

บัว



บัว เป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัว
บัวเป็นราชินีแห่งไม้น้ำ จัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ถือเป็นสัญญลักษณ์ของคุณงามความดี บัวหลวงชอบขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร ถิ่นกำเนิดของบัวอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวหรือสีเทาชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนหลายสี

บัวที่พบและนิยมปลูกในประเทศไทย มาจาก 3 สกุล คือ
1.บัวหลวง (lotus) เป็นบัวในสกุล Nelumbo มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติ หรือบัวหลวง
บัวผัน, บัว(กิน)สาย (waterlily) เป็นบัวในสกุล Nymphaea มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว หรือเหง้า ใบและดอกเกิดจากตาหรือหน่อที่เจริญขึ้นมาที่ผิวน้ำด้วยก้านส่งใบและยอด
2. บัววิกตอเรีย (Victoria) เป็นบัวในสกุล Victoria มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า บัวกระด้ง จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
พ.ศ. 2551 ค้นพบสายพันธุ์บัวสายพันธุ์ใหม่ของโลกที่พิพิธภัณฑ์บัว
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ได้ตั้งชื่อว่า "ธัญกาฬ" และ "รินลอุบล"บัวที่พบและนิยมปลูกในประเทศไทย มาจาก 3 สกุล คือ
บัวหลวง (lotus) เป็นบัวในสกุล Nelumbo มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติ หรือบัวหลวง
บัวผัน, บัว(กิน)สาย (waterlily) เป็นบัวในสกุล Nymphaea มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว หรือเหง้า ใบและดอกเกิดจากตาหรือหน่อที่เจริญขึ้นมาที่ผิวน้ำด้วยก้านส่งใบและยอด
บัววิกตอเรีย (Victoria) เป็นบัวในสกุล Victoria มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า บัวกระด้ง จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
พ.ศ. 2551 ค้นพบสายพันธุ์บัวสายพันธุ์ใหม่ของโลกที่พิพิธภัณฑ์บัว
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ได้ตั้งชื่อว่า "ธัญกาฬ" และ "รินลอุบล"

ราชพฤกษ์


ราชพฤกษ์ หรือ คูน (Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้
ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก

กุหลาบควีนสิริกิติ์


กุหลาบควีนสิริกิติ์ (Queen Sirikit Rose) เป็นกุหลาบดอกใหญ่สีเหลือง เมื่อต้องแสงอาทิตย์ปลายกลีบจะมีสีส้ม ดอกมีกลิ่นหอม บางครั้งกิ่งหนึ่งอาจมีถึง 3 ดอก
นายอองเดร อองดริก ผู้อำนวยการไร่กุหลาบกร็องด์ โรเซอเร ดู วาล เดอ ลัวร์ (Grandes Roseraies Du Val de Loire) แห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ในฝรั่งเศส เป็นผู้ตั้งชื่อดอกกุหลาบชนิดนี้ตามพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2514ในเอกสารของไร่บันทึกเรื่องราวไว้ว่า"พระราชินีแห่งประเทศไทย
ทรงพระสิริโฉมเป็นเสน่ห์แบบตะวันออกเหนือตะวันตก"

ทุเรียน


ทุเรียน เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio) (ถึงแม้ว่านักอนุกรมวิธานบางคนจัดให้อยู่ในวงศ์ทุเรียน (Durionaceae)ก็ตาม) ได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้ ผลมีขนาดใหญ่ มีกลิ่นเฉพาะตัว และมีหนามแข็งปกคลุมทั่วเปลือก อาจยาวมากกว่า 30 ซม. และเส้นผ่าศูนย์กลางอาจมากกว่า 15 ซม. โดยทั่วไปมีน้ำหนัก 1 ถึง 3 กิโลกรัม ผลมีรูปรีถึงกลม เปลือกมีสีเขียวถึงน้ำตาล เนื้อในรับประทานได้ มีสีเหลืองซีดถึงแดง ขึ้นอยู่กับชนิด
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัวซึ่งเป็นส่วนผสมของสารระเหยที่ประกอบไปด้วย เอสเทอร์, คีโตน, และ สารประกอบกำมะถัน บางคนบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม ในขณะที่บางคนบอกว่ามีกลิ่นเหม็นรุนแรง กลิ่นของทุเรียนทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรงจากผู้ที่ไม่ชอบในกลิ่นของมัน ทำให้มีการห้ามนำทุเรียนเข้าในโรงแรม และในการขนส่งสาธารณะในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนั้นทุเรียนยังเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงทั้งยังอุดมไปด้วยกำมะถันและคอเลสเตอรอล ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพราะหากกินเข้าไประดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วยังทำให้ร้อนในและรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว
ทุเรียนเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบรูไน, ประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศมาเลเซีย และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกมาประมาณ 600 ปีมาแล้ว ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษที่ชื่ออัลเฟรด รัสเซล วอลเลซได้พรรณนาถึงทุเรียนว่า "เนื้อในมันเหมือนคัสตาร์ดอย่างมาก รสชาติคล้ายอัลมอนด์" เนื้อในของทุเรียนกินได้หลากหลายไม่ว่าจะห่าม หรือสุกงอม และในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีการนำทุเรียนมาทำอาหารได้หลายอย่าง ทั้งเป็นอาหารคาวและอาหารหวาน แม้แต่เมล็ดก็ยังรับประทานได้เมื่อทำให้สุก

ทุเรียนมีมากกว่า 30 ชนิด มีอย่างน้อย 9 ชนิดที่รับประทานได้ แต่มีเพียง Durio zibethinus ชนิดเดียว ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก มีตลาดเป็นสากล ชนิดที่เหลือมีขายแค่ในท้องถิ่นเท่านั้น ทุเรียนมีสายพันธุ์ประมาณ 100 สายพันธุ์ให้ผู้บริโภคเลือกรับประทาน นอกจากนี้ยังมีราคาสูงอีกด้วย ในประเทศไทยพบทุเรียนอยู่ 5 ชนิดคือ ทุเรียนรากขา (D. graveolens), ทุเรียนนก (D. griffithii), ชาเรียน (D. lowianus), ทุเรียนป่า (D. mansoni) และ ทุเรียน (D. zibethinus) ทุเรียนมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆ อีก คือ "ดือแย" (มลายู ใต้), "เรียน" (ใต้), "มะทุเรียน" (เหนือ)

มังคุด


มังคุด ( Mangosteen) ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia mangstana Linn. เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ แพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวาย ในประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้วเช่นกัน เพราะมีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 1
เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูง 7-25 เมตร ผลแก่เต็มที่มีสีม่วงแดง ยางสีเหลือง ใบเดี่ยวรูปรี แข็งและเหนียว ผิวใบมัน ดอกออกเป็นคู่ที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลืองติดอยู่จนเป็นผล ผลมีเปลือกนอกค่อนข้างแข็ง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 เซนติเมตร เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือก ผลมังคุดมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเหมือนสตรอว์เบอรี่ที่ยังไม่สุกหรือส้มที่มีรสหวาน เมล็ดไม่สามารถใช้รับประทานได้
มังคุดเป็นผลไม้จากเอเชียที่ได้รับความนิยมมาก มังคุดได้รับขนานนามว่าเป็น "ราชินีของผลไม้" อาจเป็นเพราะด้วยลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบเลี้ยงติด อยู่ที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของพระราชินีส่วนเนื้อในก็มีสีขาวสะอาด มีรสชาติที่แสนหวาน อร่อยอย่างยากที่จะหาผลไม้อื่นมาเทียบได้[1][2] ปัจจุบันมีการเพาะปลูกและขายบนเกาะบางเกาะในหมู่เกาะฮาวาย ต้นมังคุดต้องปลูกในสภาพอากาศอบอุ่น หากอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 4 °C จะทำให้ต้นมังคุดตายได้

แพนด้าแดง


แพนด้าแดง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailurus fulgens อยู่ในวงศ์ Ailuridae มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแรคคูนและกระรอกรวมกัน หัวมีขนาดใหญ่ จมูกแหลม ขาสั้นคล้ายหมี ขนตามลำตัวมีหลากหลาย มีทั้งสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลเหลืองและน้ำตาลแดง ขนบริเวณลำคอยาวและนุ่มฟู หางเป็นพวงยาวคล้ายกับหางของกระรอก มีลายปล้องสีน้ำตาลแดงสลับขาว มีความลำตัวและหัว 51 - 64 ซ.ม. หางยาว 50 - 63 ซ.ม. มีน้ำหนัก 3 - 4.5 ก.ก.


มีการกระจายพันธุ์พบตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ภาคเหนือของประเทศอินเดีย ทิเบต เนปาล ภูฏาน จีน ภาคเหนือของพม่า และภาคเหนือของประเทศลาวบริเวณที่ติดกับจีน โดยอาศัยอยู่ในป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 1,500 - 4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
มีพฤติกรรมออกหากินตามลำพัง มักหากินบนต้นไม้ กินอาหารเพียงไม่กี่ประเภท โดยกินเฉพาะใบไม้อ่อนเท่านั้น บางครั้งอาจกินไข่นก สัตว์ขนาดเล็กและผลไม้บางชนิดด้วย ใช้เวลาตอนกลางวันในการนอนหลับพักผ่อน แพนด้าแดงตัวผู้จะหวงอาณาเขตมากและมักเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ แต่แพนด้าแดงตัวเมียจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ครอบครองของตัวเอง บางครั้งตัวผู้อาจเข้ามาหากินภายในอาณาเขตของตัวเมียด้วย โดยทั่วไปอาณาเขตของแพนด้าแดงตัวผู้จะกว้างประมาณ 1.1 - 9.6 ตารางกิโลเมตร ส่วนอาณาเขตของตัวเมียจะกว้างประมาณ 1.0 - 1.5 ตารางกิโลเมตร ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยตัวเมียจะยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์อยู่เพียง 1 - 3 วันเท่านั้น แม่แพนด้าแดงใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 90 - 145 และจะออกลูกในโพรงไม้หรือถ้ำเล็ก ๆ ออกลูกครั้งละ 4 ตัว ลูกที่เกิดใหม่จะยังมองไม่เห็น มีสีขนตามลำตัวออกสีเหลืองอ่อน และจะกินนมแม่อยู่นาน 5 เดือน หลังจากนั้นจึงหย่านมและเปลี่ยนมากินใบไผ่แทน เมื่ออายุได้ 2 ปี ก็จะแยกออกไปหากินตามลำพัง มีข้อสังเกตว่า แพนด้าแดงที่อยู่บริเวณภาคเหนือของอินเดียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวที่อยู่ค่อนมาทางเอเชียตะวันออก อาจเป็นไปได้ว่าเป็นพันธุ์ย่อย (Subspecies) แต่ยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้มากนัก สถานะปัจจุบันของแพนด้าแดงในสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในสถานะ DD (Data Defficient) หมายถึง มีข้อมูลไม่เพียงพอในการประเมินความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
สำหรับในประเทศไทย สวนสัตว์พาต้าเคยนำเข้ามาเลี้ยงในสวนสัตว์ครั้งหนึ่ง โดยให้อยู่ในห้องปรับอากาศ

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สเต็ก


คำแปลสเต็กต่างๆ
สเต็กส่วนการที่จะรับประทานสเต็กให้อร่อย เราต้องรู้จักกับส่วนต่างๆของเนื้อวัว และเทคนิคการเลือกเนื้อแต่ละชนิดให้เหมาะสมกับอาหารแต่ละจาน
Chunk= เนื้อสันคอ เนื้อส่วนนี้มักจะมาทำเป็นแฮมเบอร์เกอร์
Rib=เนื้อซี่โครง ส่วนมากนำไปย่างหรือทอดโดยไม่ต้องเลาะกระดูกออก
Sirloin=เนื้อเซอร์ลอยด์เป็นเนื้อสันที่นุ่มมากที่สุดในบรรดาเนื้อส่วนต่างๆ ส่วนที่ติดกับกระดูกรูปตัว T เรามักจะเรียกว่า "ทีโบนสเต็ก"
Tenderloin=เนื้อสันใน เป็นเนื้อที่นุ่มและแพงที่สุด นิยมทำสเต็ก เช่น ฟิเลต์มิยอง
Round=เนื้อสะโพก เป็นเนื้อที่เหนียว นิยมไปอบหรือสตูว์
Shank=เนื้อน่อง เป็นเนื้อที่เหนียวที่สุด มักนิยมทำสตูว์หรือตุ๋น
คราวนี้เราคงไม่พลาดในการเลือกซื้อเนื้อส่วนต่างๆแล้วนะครับ

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ปลาปิรันยา




เมื่อประมาณกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2529 ได้มีข่าวฮือฮากันมาก เกี่ยวกับมหาภัยปิรันยาออกอาละวาดในแม่น้ำเจ้าพระยา เรื่องเริ่มมาจากการ ที่มีช่างไม้ผู้หนึ่งออกวางตาข่ายดักปลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณบางรัก ใน ตอนเช้าวันที่ 15 พฤษภาคม พอใกล้จะถึงเวลาเที่ยงก็มีปลา ซึ่งพิสูจน์ภาย หลังว่าเป็นปลาปิรันยามาติดตาข่าย และขณะจะทำการปลดปลาจากตาข่าย ปลาได้กัดที่นิ้วกลางข้างซ้ายจนเกือบขาด ปลาที่จับได้เป็นปลาปิรันยาสีแดง ตัวผู้ที่โตเต็มวัย มีลำตัวยาวถึง 20 เซนติเมตร และเชื่อว่าเป็นปลาพ่อพันธุ์ เนื่องจากพบน้ำเชื้อตัวผู้ในปริมาณสมบูรณ์พร้อมที่จะแพร่พันธุ์ได้ จากการ คาดคะเนในเวลานั้นจึงน่าจะเป็นปลาที่มีผู้เลี้ยงอยู่แล้วนำไปปล่อยลงใน แม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากเป็นปลาที่ทางกรมประมงห้ามเลี้ยงและห้ามสั่ง เข้ามาในประเทศอย่างเด็ดขาด หรืออาจเป็นปลาที่หลุดออกไปจากบ่อเลี้ยง ในขณะที่กำลังมีน้ำท่วมอยู่ในเวลานั้นก็ได้
ปลาปิรันยาเป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ Serrasaimidae จัดอยู่ในสกุล Serrasalmus ซึ่งมีปลาอยู่ในสกุลนี้ทั้งสิ้น 16 ชนิด แต่มีเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้น ที่มีนิสัยดุร้ายและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ลำตัวแบนมากตามแนวตั้ง ลักษณะ ที่สำคัญคือส่วนปาก โดยเฉพาะขากรรไกรล่างจะยื่นยาวออกมากกว่าขา กรรไกรบน และมีฟันที่คมกริบเรียงเป็นแถวอยู่บนขากรรไกรที่ทรงพลังมาก ครีบหลังจะอยู่ตรงจุดสูงสุดของแนวสันหลัง ครีบไขมัน (adipose fin) อยู่ ต่อจากครีบหลังแลเห็นได้ชัดเจน ครีบหางแผ่กว้างเว้าตอนกลางครีบเล็กน้อย ครีบก้นค่อนข้างยาว มักจะยาวกว่าครีบหลังและมีปลายยื่นแหลมออกมา ครีบท้องและครีบหูมีขนาดเล็ก เกล็ดบนลำตัวเป็นแบบวงกลม (cycloid) มีขนาดเล็กมากและหลุดร่อนออกได้ง่าย
ปลาปิรันยาอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่หลายร้อยตัวในแม่น้ำและลำธาร ใน บริเวณอเมริกากลางและแถบเหนือของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะในแถบ ลุ่มน้ำอะเมซอน ปกติออกหากินเป็นฝูง ว่ายน้ำได้รวดเร็วเมื่อมีเหยื่อทุกตัวจะ พุ่งเข้าหาเหยื่อพร้อมๆ กัน อาหารในธรรมชาติได้แก่ ปลาที่บาดเจ็บหรือปลา ที่ป่วย ปลาชนิดนี้จึงช่วยในการควบคุมสุขภาพปลาในแหล่งน้ำนั้นๆ ด้วยการ กำจัดปลาที่อ่อนแอหรือปลาเป็นโรค อันตรายของปลาปิรันยาต่อมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ นับว่าน้อยมาก แต่ถ้ามีแผลเลือดไหลออกมา จะเป็นตัวกระตุ้นให้ปลาเข้ากัดกินอย่างรวดเร็วจนเหลือแต่โครงกระดูกภายใน ระยะเวลาอันสั้น เพราะกรามที่แข็งแรงและฟันที่คมกริบจะกัดเนื้อออกเป็น ชิ้นได้โดยการงับเพียงครั้งเดียวและเส้นเอ็นต่างๆ ที่ยึดกระดูกก็จะขาดออก อย่างง่ายดาย ในสภาพปกติชาวพื้นเมืองที่อยู่ในบริเวณลำธารที่มีปลาปิรันยาอาศัยอยู่สามารถลงอาบน้ำในลำธารได้อย่างสบายและพวกเขาชอบล่าปลา ชนิดนี้มาทำเป็นอาหาร เพราะเนื้อปลานี้มีรสชาติอร่อยมากชนิดหนึ่ง ผู้ที่ เคยลองชิมมาแล้วกล่าวว่าเนื้อมีลักษณะคล้ายเนื้อปลาบู่
ปลาปิรันยา 3 ชนิด ที่สำคัญซึ่งมีนิสัยดุร้ายและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ นั้น มีดังนี้
1. ปลาปิรันยาแดง (Serrasalmus nattereri) พบทั่วไปในลุ่มแม่น้ำ อะเมซอน ลุ่มน้ำโอริโนโค และลุ่มน้ำปารานา ความยาวลำตัว 30 เซนติเมตร ลำตัวด้านหลังออกสีเงินและใต้ท้องสีแดงเรื่อๆ ครีบหลังและครีบหางสีดำ ชนิดนี้เป็นชนิดที่ดุร้ายมากและเป็นชนิดที่พบในลำน้ำเจ้าพระยา เมื่อปี พ.ศ. 2529
2. ปลาปิรันยาเขียว (Serrasalmus piraya) มีลักษณะคล้ายกับ ปลาปิรันยาสีแดง ความยาวลำตัวถึง 35 เซนติเมตร ด้านใต้ท้องสีออก เขียวแกมฟ้า ตัวที่มีอายุมากจะมีครีบไขมันที่ยื่นยาวออกต่างจากปลา ปิรันยาชนิดอื่นๆ
3. ปลาปิรันยาขาวหรือปลาปิรันยาจุด (Serrasalmus rhombeus) พบ อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำอะเมซอนและแถบทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ลำตัวยาวถึง 38 เซนติเมตร ลำตัวมีลักษณะยาวเรียวกว่าชนิดอื่นๆ สีเทาเข้ม จนถึงเขียวมะกอก บนสีข้างมีจุดสีคล้ำเต็มไปหมด ชนิดนี้มีนิสัยดุร้ายน้อยกว่า ชนิดอื่นๆ
ปลาปิรันยานี้สามารถนำเอามาเลี้ยงไว้ได้ในตู้เลี้ยงปลา ปลาปิรันยา- แดงและปลาปิรันยาขาวเพาะพันธุ์ในตู้เลี้ยงได้ ไข่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร ฟักออกภายในเวลา 2-9 วัน อีก 8-9 วัน ต่อมาลูกปลาจะว่าย บนพื้นน้ำได้อย่างอิสระและเติบโตอย่างรวดเร็ว
ถึงแม้จะเชื่อได้ว่าปลาปิรันยาไม่อาจจะแพร่พันธุ์ได้ในแม่น้ำเจ้าพระ- ยา เนื่องจากปลาชนิดนี้ไม่อาจทนน้ำเค็มได้ และสภาพน้ำในแม่น้ำเจ้า พระยาก็อยู่ในสภาพเกือบเน่าเสียไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ปลามหาภัยนี้ เมื่อหลุดออกไปจากบ่อเลี้ยงหรือมีผู้ลักลอบปล่อยลงแหล่งน้ำอาจจะมีชีวิต อยู่ได้ชั่วคราว โดยเฉพาะในฤดูฝนน้ำในแม่น้ำจะเจือจางเพียงพออาจจะก่อ ให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ได้ กรมประมงได้มีพระราชกำหนดห้ามนำเข้ามา ภายในประเทศอย่างเด็ดขาด ผู้ใดมีไว้ในครอบครองต้องทำลายหรือนำไปส่ง มอบให้แก่กรมประมงเพื่อทำลาย อันเป็นการป้องกันมิให้เกิดมีปลามหาภัย ชนิดนี้ขึ้นมาในประเทศไทยได้ในอนาคต