วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กระซู่

กระซู่


ชื่อสามัญ : Sumatran Rhino
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Didermocerus sumatraensis กระซู่

ลักษณะ : กระซู่เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแรด แต่มีลักษณะลำตัวเล็กกว่า ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ 1-1.5 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม มีหนังหนาและมีขนขึ้นปกคลุมทั้งตัว โดยเฉพาะในตัวที่มีอายุน้อย ซึ่งขนจะลดน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น สีลำตัวโดยทั่วไปออกเป็นสีเทาคล้ายสีขี้เถ้า ด้านหลังลำตัวจะปรากฏรอยพับของหนังเพียงพับเดียวตรงบริเวณด้านหลังของขาคู่หน้า กระซู่ทั้งสองเพศมีนอ 2 นอ นอหน้ามีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ส่วนนอหลังมีความยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร หรือเป็นเพียงตุ่มนูนขึ้นมาในตัวเมีย

อุปนิสัย : กระซู่ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทรับกลิ่นดีมาก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ พวกใบไม้ และผลไม้ป่าบางชนิด ปกติกระซู่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ หรือตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว มีระยะตั้งท้อง 7-8 เดือน ในที่เลี้ยงกระซู่มีอายุยืน 32 ปี

ที่อยู่อาศัย : กระซู่อาศัยอยู่ตามป่าเขาที่มีความหนารกทึบ ลงมาอยู่ในป่าที่ราบต่ำ ในตอนปลายฤดูฝนซึ่งในระยะนั้นมีปรักและน้ำอยู่ทั่วไป

เขตแพร่กระจาย : กระซู่มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม มลายู สุมาตรา และ บอเนียว ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบกระซู่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่งได้แก่ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี และในบริเวณอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง ได้แก่ แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา และ บริเวณป่ารอยต่อระหว่างประเทศกับมาเลเซีย

สถานภาพ : ปัจจุบันกระซู่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย อนุสัญญา CITES จัดไว้ใน Appendix I และ U.S. Endanger Species Act จัดไว้ในพวกที่ใกล้จะสูญพันธุ์
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: กระซู่ปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากโลก เนื่องจากถูกล่าเพื่อเอานอ และอวัยวะทุกส่วนของตัว ซึ่งมีฤทธิ์ในทางเป็นยา กระซู่จึงถูกล่าอยู่เนืองๆ ประกอบกับกระซู่มีอยู่ในธรรมชาติน้อย และ ประชากรแต่ละกลุ่มและแม้แต่กลุ่มเดียวกันก็อยู่ห่างกันมากไม่มีโอกาสจับคู่ขยายพันธุ์ได้

พะยูน

พะยูน (หมูน้ำ / ปลาดูหยง)

ชื่อสามัญ : Dugong (Sea Cow)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dugong dugon
ลักษณะทั่วไป : พะยูนถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2319 โดยได้ตัวอย่างแบบที่จับได้จากน่านน้ำแหลมกู๊ดโฮบถึงฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายปลาวาฬ เดิมพะยูนจึงถูกจัดรวมอยู่ในอันดับเดียวกันคือ Cetacea แต่จากการศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยละเอียดพบว่าแตกต่างกันมาก ขนาดเล็กกว่า หัวกลม รูจมูกแยกจากกัน ปากเล็ก มีฟันหน้าและฟันกรามพัฒนาดี ไม่เป็นฟันยอดแหลมธรรมดาเหมือน ๆ กันอย่างปลาวาฬ และมีเส้นขนที่ริมฝีปากตลอดชีวิต จึงมีการจำแนกออกตั้งเป็นอันดับใหม่ คือ Sirenia >> จากการศึกษาสายวิวัฒนาการของพะยูน พบว่ามีความใกล้ชิดกับพวกช้างมากกว่าปลาวาฬ และต้นบรรพบุรุษของพะยูน ตั้งแต่ครั้งยุค Eocene ยังเป็นสัตว์บกมี 4 เท้า แต่เท้าคู่หลังลดขนาดเล็กลงกว่าเท้าคู่หน้ามาก วิวัฒนาการต่อ ๆ มา เท้าหลังจึงหดหายไป และพัฒนารูปร่างมาเป็นอย่างปัจจุบัน กลายเป็นสัตว์อย่างสมบูรณ์ >> ลักษณะเด่นของพะยูน คือ เป็นสัตว์น้ำเลี้ยงลูกด้วยนมเช่นเดียวกับโลมาและปลาวาฬ แตกต่างกันที่พะยูนไม่มีครีบหลัง แต่มีครีบหางซึ่งแผ่แบนแยกเป็นสองแฉกคล้ายหางปลาในแนวราบและไม่มีแกนกระดูกเช่นเดียวกัน ขณะว่ายน้ำครีบหางนี้จะพัดโบกขึ้น - ลง ไม่เหมือนกับการพัดโบกไปมาในแนวตั้งอย่างครีบอกของปลา ขาคู่หน้าแต่ละข้างมีนิ้ว 5 นิ้ว พัฒนารูปร่างเรียง ติดกันเป็นใบพายคล้ายครีบอกของปลา ที่ปลายนิ้วแต่ละนิ้วของพะยูนจะไม่มีเล็บ ซึ่งต่างจากมานาตี หรือ พะยูนแถบทวีปอเมริกา ขาหลังลดรูปหายไป ส่วนหัวกลมมน มีปากอยู่ด้านล่างของหัว ริมฝีปากบนหนา มีขนหนวดขึ้นประปราย เมื่อโตเต็มที่ พะยูนตัวผู้จะมีเขี้ยวยาว 1 คู่ ที่บริเวณขากรรไกรบน ลักษณะคล้ายงาช้างยื่นลงมาชัดเจน ขนาดตัวของพะยูน มีความยาวรวมครีบหางประมาณ 2.2-3.5 เมตร ขนาดของ ครีบหางกว้าง ประมาณ 0.75-0.85 เมตร ขนาดวัดรอบอกประมาณ 1.6-2.5 เมตร ครีบอกหรือขาหน้ายาวประมาณ 0.35-0.45 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 280-380 กิโลกรัม

นิสัย : พะยูนเป็นสัตว์น้ำที่หายใจด้วยปอด ปกติดำน้ำได้ไม่ลึกและอยู่ใต้น้ำไม่นานอย่างปลาโลมาและปลาวาฬ ต้องโผล่ขึ้นมาหายใจเหนือผิวน้ำเสมอ ๆ ช่วงกลางวันมักชอบอาศัยอยู่บริเวณทะเลลึก ถึงตอนกลางคืนจึงจะเข้ามาอยู่ตามชายฝั่งน้ำตื้น เพื่อหากินหญ้าทะเล ซึ่งเป็นพวกพืชสีเขียวที่ขึ้นอยู่ตามหาดโคลนน้ำตื้นที่แสงแดดส่องถึง ลักษณะการแทะเล็มหญ้าทะเลของพะยูนดูคล้ายการกินหญ้าของวัว ทำให้ได้ชื่อเรียกภาษาอังกฤษ อีกชื่อว่าวัวทะเล (Sea Cow) มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัว หรืออาจหากินรวมกันเป็นฝูงใหญ่ได้

อาศัย : พบอาศัยอยู่ตามฝั่งมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของทวีปแอฟริกา อินเดีย ศรีลังกา แถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกีนี และตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ในประเทศไทยเคยมีพะยูนอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้านของประเทศมีแหล่งมาอยู่สำคัญคือบริเวณชายฝั่งทะเล อุทยานแห่งชาติหาด เจ้าไหม และเกาะลิบง จังหวัดตรัง คาดว่ายังมีพะยูนเหลืออยู่

อาหาร : กินแต่หญ้าทะเลเป็นอาหารหลัก

การสืบพันธุ์ : ระยะตั้งท้องนานประมาณ 1 ปี ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว ออกลูกใต้น้ำ ลูกพะยูน แรกเกิดจะต้องรีบโผล่ขึ้นหายใจเหนือน้ำทันที ต่อจากนั้นจะว่ายน้ำติดตามกินนมแม่ ซึ่งมีเต้านมอยู่ใต้ครีบอก ประมาณ 1 ปี จึงจะหย่านม ในช่วงที่ลูกพะยูนยังเล็กอยู่ แม่พะยูนจะ ป้องก้นอันตรายจากศัตรูโดยใช้ครีบอกประคองลูกอยู่ข้างตัว ทำให้ผู้พบเห็นมองดูเหมือน แม่อุ้มลูกไว้แนบอก จึงเรียกชื่อกันว่า “เงือก” อีกชื่อหนึ่ง พะยูนจะโตเต็มที่อายุประมาณ 13-14 ปี อายุยืนประมาณ 40 ปี

สถานภาพ : ปัจจุบันจำนวนประชากรของพะยูนในถิ่นกำเนิดทุกแห่งลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว จนน่าวิตกว่าจะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้เนื่องจากการล่า เพื่อเอาเนื้อมาเป็นอาหาร หรือหลงติดอวนจับปลาของชาวประมงจนเสียชีวิต และความเชื่อที่ว่าน้ำมันพะยูนใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อยได้ ประกอบกับพะยูนแพร่พันธุ์ได้ช้า และนิสัยการกินอาหารของพะยูนที่เลือกกินแต่หญ้าทะเลเป็นอาหารหลัก ซึ่งปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเลถูกทำลายลดน้อยลงจากมลพิษต่างๆ ที่ถูกปล่อยทิ้งลงสู่ทะเล ส่งผลให้พะยูนหาอาหารได้ยาก และเสี่ยงอันตราย จากสารพิษตกค้างทั้งในน้ำทะเล และที่สะสมในหญ้าทะเล พะยูนจัดเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

เก้งหม้อ

แ(เก้งดำ / เก้งดง)


ชื่อสามัญ : Fea\'s Muntjak (Fea\'s Barking Deer)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Muntiacus feae

ลักษณะทั่วไป : เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวยาว 88-100 เซนติเมตร นำหนักประมาณ 22 กิโลกรัม ลำตัวซีกบนสีน้ำตาลแก่ ซีกล่างสีน้ำตาลปนขาว หางสั้นซีกบนเป็นสีดำเข็ม ซีกล่างของหางสีขาวตัดกันสะดุดตามีเขาเฉพาะในตัวผู้ เขามีข้างละ 2 กิ่ง แต่ไม่สวยงามเท่าเก้ง ต่อมน้ำตาใหญ่มาก มีแอ่งน้ำตาใหญ่ ผลัดเขาทุก

นิสัย : ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบสูงๆ ที่เป็นป่าดงดิบไม่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ชอบอยู่กลุ่มละ 2 - 3 ตัว แต่โดยปกติแล้วชอบอยู่ลำพังตัวเดียวออกหากินตอนเช้าตรู่ พลบค่ำและตอนกลางคืน โดยจะออกมาหากิน ตามทุ่งโล่ง ชายป่า ท้องนา แถวที่มีลูกไม้ป่า ชอบกินดินโป่ง

ถิ่นอาศัย : พบทางภาคใต้ของประเทศไทย เทือกเขาตะนาวศรี ตามแนวชายแดนที่ติดต่อกับประเทศพม่า อาหาร : ใบไม้ ผลไม้บางชนิด หน่ออ่อนของต้นไม้ ใบหญ้า โดยเฉพาะหญ้าระบัดจะชอบมาก

การสืบพันธุ์ : ระยะตั้งท้องนานประมาณ 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว

สถานภาพ : สัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ปลาช่อน


ปลาช่อน

ชื่อสามัญ STRIPED SNAKE-HEAD FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Channa striatus
ถิ่นอาศัย แพร่กระจายตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ
อาหาร เนื้อสัตว์ต่าง ๆ
ขนาด ความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีราคาใช้ทำอาหารได้หลายรูปแบบ เช่น ตากแห้ง ปลาร้า ปลารมควัน

แมวลายหินอ่อน


แมวลายหินอ่อน

ชื่อสามัญ
Marble Cat
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pardofelis marmorata
ลักษณะ
เป็นแมวป่าขนาดกลาง น้ำหนักประมาณ 4 - 5 ก.ก. อาศัยอยู่ในป่าดงดิบและป่าดิบชื้น ส่วนใหญ่มักอยู่บนต้นไม้ ชอบออกหากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ แมลง งู นก หนู และลิงขนาดเล็ก

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร


นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
ชื่อสามัญ
White-eyed River-Martin
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pseudochelidon sirintarae
ลักษณะ
นกนางแอ่นชนิดลำตัวยาว 15 ซ.ม. พบครั้งแรกในประเทศไทย ปี 2511 ในบริเวณ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ จะเกาะนอนอยู่ในฝูงนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ตามใบอ้อ และ ใบสนุ่น โฉบจับแมลงเป็นอาหาร

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กุ้งก้ามกราม

กุ้งก้ามกราม

กุ้งก้ามกราม กุ้งน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrobrachium rosenbergii อยู่ในวงศ์ Palaemonidae มีเปลือกสีเขียวอมฟ้าหรือม่วง ก้ามยาวมีม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีปุ่มตะปุ่มตะป่ำ โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง แทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด อาหารได้แก่ ไส้เดือน ตัวอ่อนของลูกน้ำ ลูกไร ลูกปลาขนาดเล็ก ซากของสัตว์ต่างๆ และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง พบชุกชุมทำให้จับง่าย โดยเฉพาะในฤดูหนาว ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่างๆ แถบภาคกลางของประเทศไทย เช่น สุพรรณบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา และต่างประเทศด้วย เช่น ที่ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

กุ้งก้ามกราม มีความยาวประมาณ 13 ซ.ม. พบใหญ่สุดถึง 1 ฟุต น้ำหนักเป็นกิโล เป็นกุ้งที่ถูกใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ เผา หรือ ทอด เป็นต้น เพราะเนื้อมีมาก เนื้อแน่น มัน อร่อย ทำให้มีราคาที่ขายสูง ปัจจุบัน ยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงามด้วย กุ้งก้ามกราม มีชื่อเรียกที่ต่างออกไปมากมาย เช่น กุ้งแม่น้ำ กุ้งหลวง ขณะที่กุ้งตัวเมียที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่า เรียก กุ้งนาง เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552


ห่าน

ห่านเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายไม่ค่อยเป็นโรค ทนต่อสภาพแห้งแล้งและไม่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษแต่อย่างใด จึงเหมาะอย่างยิ่งกับสภาพโดยทั่วไปของประชาชนในต่างจังหวัดที่จะนำมาเลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหารประเภทโปรตีน อีกทั้งการเลี้ยงดูก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากหรือซับซ้อน และที่สำคัญก็คือใช้เงินลงทุนต่ำมาก วิธีการเลี้ยงอาจจะใช้เลี้ยงแบบขังเล้า หรือปล่อยเลี้ยงตามใต้ถุนบ้านหรือท้องนา ปล่อยให้เล็มหญ้าหรือวัชพืชอื่น ๆ และมีอาหารข้นซึ่งประกอบด้วยรำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก เสริมให้กินบ้างเท่านั้นก็เป็นเพียงพอแล้ว
กล่าวโดยทั่วไปแล้ว การเลี้ยงห่านยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ทั้งนี้เพราะปัญหาเกี่ยวกับความเชื่อถือในการบริโภคเนื้องห่านว่าเป็นอาหารแสลงอย่างเช่น ผู้ชายเมื่อบริโภคเนื้อห่านแล้วจะเกิดเป็นโรคเรื้อน หรือผู้หญิงหากบริโภคเนื้อห่านแล้วจะเป็นโรคผิดกระบูน หรือพิษแม่ลูกอ่อน ซึ่งแท้จริงแล้วมิได้เป็นเช่นนั้น โรคดังกล่าวหากจะเกิดขึ้นจะต้องมีตัวของเชื้อโรคนั้น ๆ เป็นสาเหตุจึงจะเกิดขึ้น หาใช่เป็นเพราะเนื้อห่าน มีบางรายเมื่อบริโภคเนื้อห่านแล้ว จะมีอาการแพ้บ้าง ซึ่งโอกาสที่จะเกิดขึ้นก็มีน้อยมาก เช่นเดียวกับคนบางคนที่แพ้ไข่ เนื้อ เนื้อหมู ไก่ กุ้ง หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ


นอกจากนั้นคนบางคนมีความคิดว่าเนื้อห่านเป้นอาหารสำหรับผู้มีอันจะกินเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากในสมัยก่อน ๆ ตามบ้านผู้มีฐานะดีจะเลี้ยงห่านกันบ้านละ 3-4 ตัว แต่แท้จริงที่มีผู้นิยมเลี้ยงไว้ตามบ้านนั้นก็เลี้ยงไว้เพื่อเฝ้าบ้านกันขโมยเท่านั้น
ในปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนโปรตีนและพลังงานของประชาชนทั่ว ๆ ไปซึ่งจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ มีผลเสียอย่างยิ่งต่อสมอง อันจะเป็นผลกระทบกระเทือนต่อการพัฒนาประเทศ สัตว์เลี้ยงที่จะช่วยเสริมแหล่งโปรตีนราคาถูกให้กับประชาชนโดยทั่วไปไม่ว่าในชนบทหรือในตัวเมืองอีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากไก่พื้นเมือง ไก่งวง เป็ดเทศ ก็คือ ห่าน
พันธุ์ห่านที่นิยมเลี้ยงกันมาก ได้แก่








นอกจากพันธุ์ห่านดังกล่าวแล้ว ยังมีการผสมข้ามพันธุ์เพื่อผลิตห่านลูกผสมสำหรับการค้าโดยเฉพาะ