วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติช้างไทย



ช้างไทยเป็นสัตว์ประจำชาติไทย และเป็นที่สำคัญต่อพระพุทธศาสนา และประเทศไทยยังเคยมี
ธงชาติที่ประทับลายช้างเผือกไว้ด้วย ถ้าพูดถึงในสมัยก่อนนั้น ช้างมีความสำคัญมากในด้านการศึก ด้านการทำสงคราม ช้างทำให้ ขุนนางได้เลื่อนยศมามากคนแล้ว และคนไทยเราก็นิยมในช้างเผือก ซึ่งเป็นช้างของกษัตริย์ ซึ่งมีลักษณะสวยงามมาก แต่ว่าหาได้ยากมาก ซึ่งในการศึก ช้างจะเป็นพาหนะของแม่ทัพ ซึ่งจะมีการศึกบนหลังหลังช้าง เรียกว่า ยุทธหัตถี ถือเป็นการสู้ที่มีเกียรติมาก

ประวัติปลาหมอสีโดยคร่าว ๆ ไม่ได้มีการยืนยันเป็นที่แน่นอนว่าผู้นำเข้านั้นเป็นใคร โดยเมื่อราว ๆ ปี พศ. 2505 มีปลาหมอตัวแรกที่นำเข้ามาชื่อ แจ๊คเดมเซย์ ซึ่งถือเป็นตัวแรกที่ได้มีผู้นำเข้ามาเลี้ยง ต่อมาก็คือ ออสการ์ เป็นปลาหมออีกชนิดหนึ่งเช่นกันและต่อมาได้ถูกไปแยกสายพันธุ์ออกไปเป็นออกไปเป็นออสการ์โดยเฉพาะที่เรา เห็นกันอยู่
ส่วนประวัติปลาหมอสีที่นำเข้ามานั้น อยู่ในช่วงประมาณ30ปีขึ้นไปโดยถิ่นกำเนิดของปลาหมอสี จะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ สองกลุ่มคือ
กลุ่มที่วางไข่กับพื้น หรือซิคคลาโซน่า (CICLASONA)มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาก็คือ แถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้ บราซิลและลุ่มแม่น้ำอะเมซอนเป็นหลักใหญ่ ซึ่งได้แก่ ปลาเซวาลุ่มทอง ที่กำลังนิยมอยู่ตอนนี้ นอก จากนี้ยังมีพวกซิลสไปลุ่ม และปลาหมอมาคูลิคัวด้า อีกด้วย
กลุ่มที่อมไข่ไว้ในปาก มาจากทะเลสาปทางด้านอัฟริกาหรืออัฟริกาใต้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ปลาที่นิยมเลี้ยงก็จะมาจาก ทะเลสาปมาลาวี แถว ๆ แถบแทนซาเนีย และก็มีพวก แซ พวกซาอี เป็นพวกนิยมจับปลาหมอและก็พวกนี้อีกเช่น กันที่เอาปลาหมอออกขายสู่ตลาดโลก
ส่วนในประเทศไทยนั้น เริ่มมีคนรู้จักและเป็นที่แพร่หลายเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มมีการ ที่นิยมเลี้ยงเพื่อความสวยงามมากขึ้นและเริ่มมีการประกวด แข่งขันกันเกิดขึ้นอีกด้วย จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งจัดได้ว่าปลาหมออยู่ในช่วงที่ค่อนข้างบูมมากและเริ่มเป็นที่รู้จักกันในหมู่นักเลี้ยงปลาพอสมควร

หมาหลังอาน

สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า "หมาหลังอาน" เป็นมรดกของโลกที่มอบให้กับประเทศไทย จากวันนั้นจนวันนี้ ไม่มีใครสามารถสรุปได้ว่า หมาหลังอานนั้น ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคใดสมัยใด รูปร่างหน้าตาในยุคนั้นเป็นเช่นไร หลักฐานชิ้นเก่าแก่ทีสุดที่กล่าวถึงหมาไทยหลังอานที่ค้นพบก็คือ สมุดข่อย ที่ทำให้เรารู้ว่า หมาไทยหลังอาน ต้องมีหูตั้ง หางเหมือนดาบ ขนบนหลังขึ้นย้อนกลับ มองแล้วคล้ายกับอานของม้า เราจึงเรียกหมาพันธุ์นี้ว่า หมาหลังอาน
คำว่า "หมา" หลายคนบอกว่าเป็นคำไม่สุภาพ แต่จริงๆแล้ว เราก็ใช้เรียกกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ก็ยังนิยมเรียกว่าหมา บางคนมีลูกน่ารัก ยังเรียก ไอ้ลูกหมา หรือไอ้หมา เลยก็มี ดังนั้นจึงขอใช้คำว่า หมา ก็แล้วกัน เพราะมันเป็นไทยๆ ดี
มักมีคำถามของผู้เลี้ยงมือใหม่อยู่เสมอว่า หมาสวยๆนั้นมีลักษณะอย่างไร สอบถามไปยังฟาร์มต่างๆหลายฟาร์ม ก็ได้หมาสวยหลายแบบ "เลยเป็นงง" เพราะไม่ว่าถามฟาร์มใด ก็จะได้คำตอบว่า หมาที่สวยที่สุด ก็คือหมาในฟาร์มของเขานั่นเอง จึงขอแนะนำให้นักเลี้ยงมือใหม่ๆ ว่า เมื่อได้ฟังคำตอบ หรือได้รับข้อมูลมาแล้ว ในการพิจารณาควรจะใช้วิจารณญาน ดุลยพินิจ บวกความน่าจะเป็น โดยมีมาตรฐานพันธุ์ที่จดไว้ กับ เอฟ ซี ไอ เป็นตัวตั้ง ก็จะได้คำตอบที่น่าจะดีที่สุด
มาเข้าเรื่องตามหัวข้อเลยดีกว่า เมื่อกล่าวถึงหมาหลังอานสายตะวันออก ก็จะมองเห็นภาพสีแดง ปากมอม กระโหลกโต โครงสร้างใหญ่ท ี่มีอยู่ทั่วไปในแถบจันทบุรี และตราด สาเหตุที่หมาหลังอานสายตะวันออก มีลักษณะเป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะว่า ชาวบ้านสมัยก่อน เลี้ยงหมาไว้เป็นเพื่อนเฝ้าบ้าน และล่าสัตว์ การวิ่งไล่ล่าของมัน จะต้องมีการวิ่งมุดเข้าพงหญ้า ป่าละเมาะ ต้องมีการขุดรู กัดรากไม้เพื่อติดตามสัตว์ที่ล่า โครงสร้างจึงพัฒนาให้สอดคล้องกับการใช้งาน คือมีรูปร่างล่ำสัน แข็งแรง เต็มไปด้วยมัดกล้าม กระโหลกโต กรามใหญ่ แข็งแรง มีสัญชาตยานการไล่ล่าสูง และมีไม่น้อยที่หน้าต่ำ ท้ายสูง คงมาจากสาเหตุที่ต้องวิ่งมุดป่า เข้ารู เป็นประจำ
แต่ในปัจจุบัน วัตถุประสงค์การเลี้ยงหมาหลังอานเปลี่ยนไป คือในสมัยนี้เราจะเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา เพื่อประกวดความสวยงาม เมื่อมีผู้นิยมเลี้ยงกันมากขึ้น ผลที่ตามมาคือเลี้ยงเพื่อการค้า เมื่อมีผลประโยชน์ ก็ต้องมีการแข่งขันทางธุรกิจ ต่างคนจึงจำเป็นต้องพัฒนาหมาของตน ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด ผู้เลี้ยงจึงแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม หลายความคิด และมีแนวทางในการพัฒนาต่างกันออกไป แต่การที่จะสรุปว่า หมาตัวไหนสวย ก็ต้องวัดกันในสนามประกวด การประกวดจะต้องผ่านหลายสนามและกรรมการหลายคน จึงจะสรุปได้ว่าสวยจริง เมื่อวัตถุประสงค์ ในการเลี้ยงเปลี่ยนไป จึงจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างของหมาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ แต่ต้องคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ประจำพันธุ์
หมาหลังอานสายตะวันออก ในปัจจุบัน จึงมีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม ทั้งในเรื่องโครงสร้าง จิตประสาท อารมณ์ ที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
หมาหลังอานเป็นมรดก ที่โลก มอบไว้ให้อยู่คู่กับประเทศไทย โดยหน้าที่ของเราซึ่งเป็นคนไทย ควรจะอนุรักษ์หมาหลังอานให้อยู่คู่ไทย และในขณะเดียวกัน ก็ต้องพัฒนาให้หมาหลังอาน สามารถเข้าไปแข่งขันความสามารถ และประกวดความสวยงามกับหมาทุกพันธุ์ ทั่วโลกได้
ท้ายนี้ ขอฝากข้อคิดถึงเพื่อนสมาชิกทุกท่านว่า งานใด กิจกรรมใด จะประสบผลสำเร็จได้ สมาชิกในกลุ่ม จะต้องมีความสมัครสมาน สามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และหาบทสรุปที่จะได้เดินไปยังจุดหมายปลายทางเดียวกัน

สุนัข บางแก้ว



ประวัติประวัติความเป็นมาของสุนัขบางแก้วนั้นไม่มีบุคคลใดที่ให้คำตอบที่แน่นอนได้ว่าเกิดจากสุนัขพันธุ์ใดกันแน
่ เท่าที่ทราบจากคำบอกเล่ากันต่อๆ มาว่าเป็นสุนัข 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ไทย พันธุ์จิ้งจอก และ พันธุ์หมาป่า
โดยที่มีขนยาวปานกลาง ปากแหลม หางเป็นพวง ซึ่งเป็นลักษณะ ของสุนัขจิ้งจอก กะโหลกเป็นรูปสามเหลี่ยม
ใบหูตั้งป้องไปข้างหน้าปลายแหลม โคนหูห่างกันมาก เป็นลักษณะของหมาป่า
ส่วนลักษณะของสีหรือรูปร่างก็คล้ายสุนัขพันธุ์พื้นบ้านของเรานั่นเองเมื่อได้รับการผสมภายในเหล่าเดียวกันหลาย ๆ ช่วงทำให้เกิดสุนัขพันธุ์ใหม่
“ลูกสุนัขพันธุ์ไทยบางแก้วพันธุ์แท้ที่มีลักษณะดีเด่น”เนื่องจากบ้านบางแก้วในอดีตนั้น
ชาวบ้านจะมีที่อยู่อาศัยเป็นเรือนแพจอดอยู่สองข้างฝั่งของลำคลองบางแก้ว สภาพโดยทั่วไปก็ยังเป็นป่ารกจะมีสุนัขไทยที่เลี้ยงไว้อยู่ก็มีบริเวณวัดบางแก้ว ที่มีบริเวณกว้างขวาง
วัดบางแก้ว ในสมัยที่หลวงปู่มากเมธาวี เจ้าอาวาส เวลาท่านจะเดินทางไปไหนไกล ๆ ด้วยกิจนิมนต์
ท่านต้องใช้ม้าเป็นพาหนะเดินทาง หลวงปู่มากท่านเป็นพระภิกษุที่โอบอ้อมอารี มีเมตตา รักสัตว์เลี้ยง
ท่านเลี้ยงม้าไว้หลายตัว บริเวณวัดก็มีสุนัข แมวและไก่พันธุ์พื้นเมืองภายหลังสุนัขของท่านได้คลอดลูกออกมี
ลักษณะที่ดีเด่นผิดแปลกไปจากสุนัขพันธุ์ไทยทั่วๆไป โดยเป็นสุนัขที่ขนฟูยาวเป็นขนสองชั้น หูเล็ก ปากแหลม หางเป็นพวง
สุนัขพันธุ์ “บางแก้ว”เป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดเกิดที่บ้านบางแก้ว ต.ท่านางงาม อ.บางระกำ จังหวัดพิษณุโลก สุนัขพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขไทยพันธุ์หนึ่งที่มีความสวยงามคล้ายสุนัขพันธุ์ต่างประเทศที่มีขนยาวสวยงามหางเป็นพวง เป็นสุนัขที่มีรูปร่างขนาดปานกลาง รูปทรงของลำตัวตั้งแต่ช่วงขาหน้าถึงขาหลังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สันนิษฐานกันว่าสุนัขพันธุ์บางแก้วคงจะได้รับสายพันธุ์จากสุนัขป่า (สุนัขจิ้งจอก-สุนัขไน) จนในระยะหลังจึงกลายเป็นสุนัขพันธุ์แท้ที่มีลักษณะเป็นของตัวเองการเลี้ยงของชาวบ้านบางแก้วในสมัยนั้น มักเลี้ยงกันภายในบริเวณเรือนแพสุนัขบางแก้วที่ได้มีการเลี้ยงแพร่หลายออกไปจากบ้านบางแก้ว
ไปในบริเวณใกล้เคียงเช่นบ้านชุมแสงสงครามบ้านห้วยชัน บ้านวังแร่ บ้านบางระกำ
ปัจจุบันสุนัขพันธุ์บางแก้วได้มีการเลี้ยงแพร่พันธุ์ออกไปทั่วประเทศเป็นที่นิยม เพราะสุนัขพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขที่มีอุปนิสัย
รักเจ้าของ รักถิ่นฐานที่อยู่ ซื่อสัตย์ ฝึกสอนง่าย ฉลาดว่องไว และเป็นสุนัขที่มีนิสัยดุกว่าสุนัขพันธุ์ไทยอื่นๆ (ปัจจุบันนักพัฒนาพันธุ์ได้พัฒนาจนสุนัขบางแก้วไม่ดุและเข้าสังคมได้ตามยุคสมัย )
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการใช้สุนัขพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขใช้งานในด้าน การพิทักษ์รักษาทรัพย์สินภายในบ้าน ไร่ สวน โกดังต่างๆได้ดี อีกทั้งสุนัขพันธุ์บางแก้วยังมีลักษณะที่สวยงามเป็นจุดเด่นกว่าสุนัขไทยอื่นๆ
ด้วยความดุของสุนัขเหล่านี้นี่เองจึงทำให้ ชาวบ้านนิยมขอลูกสุนัขไปเลี้ยงเฝ้าบ้านเฝ้าสวนจนแพร่พันธุ์ไปมากมายตามหมู่บ้านต่างๆ ด้วยความที่เป็นสุนัขที่ดุ หวงแหนทรัพย์สินและรักเจ้าของอย่างถวายหัว แถมยังมีขนยาวสายงามจึงทำให้เป็นที่นิยมกันในตั้งแต่อดีต แต่ในอดีตนั้นยังไม่มีการซื้อขาย แต่จะนำสิ่งของไปแลกเปลี่ยน เช่นลูกปืนหรือสิ่งของอื่นๆที่ชาวบ้านจำเป็นต้องใช้ ไปแลกกับลูกสุนัขหรือถ้าใครมีโอกาสผ่านไปยังบริเวณดังกล่าวจะมีการนำลูกสุนัขบางแก้วมาเป็นของฝากของกำนัลให้กับเจ้านายและผู้ที่เคารพนับถือ
ซึ่งในปัจจุบันสุนัขไทยพันธุ์บางแก้วได้รับการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีรูปร่างที่สวยงาม โครงสร้างใหญ่ ขนยาวกว่าในอดีต สีชัดเจนสวยงาม มีกระน้อยลงจนไม่มีเลย จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากและได้แพร่หลายออกไปทั่วประเทศ สุนัขพันธุ์บางแก้วจึงเป็นที่นิยมของผู้ซื้อหาเอาไปเลี้ยง จนในแต่ละปีลูกสุนัขออกมาเท่าไรก็ยังไม่พอต่อความต้องการของผู้ซื้อในปัจจุบัน
ลักษณะทั่วไปสุนัขพันธุ์บางแก้วเป็นสุนัขขนาดกลาง โครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีสัดส่วนที่กลมกลืนประกอบด้วย กล้ามเนื้อที่สมบูรณ์แข็งแรง มีการเคลื่อนไหวที่แคล่วคล่องสวยงาม ยืนเด่นสง่าดังราชสีห์ ยามวิ่งเหยาะย่างสวยงามยิ่งนัก
พฤติกรรมอารมณ์สุนัขพันธุ์บางแก้วจะตื่นตัวร่าเริงเชื่อมั่นในตนเอง จิตประสาทมั่นคงไม่ขลาดกลัว ซื่อสัตย์หวงทรัพย์สิน รักเจ้าของและผู้เป็นนายในบ้าน ป
ถิ่นกำเนิดสุนัขพันธุ์บางแก้ว บ้านบางแก้ว ต. ท่านางงาม อ. บางระกำ จ. พิษณุโลก
กรุ๊ป (Group)สุนัขอเนกประสงค์(Utility Dog Group)
รูปร่างสุนัขพันธุ์บางแก้วมีรูปร่างหนาล่ำสันเมื่อยืนหยัดขาหน้าและหลังเหยียดตรง ข้อขาหลังท่อนล่างตั้งได้ฉากกับพื้น
คอยก หน้าตั้ง ไหล่สูงลาดเท
ความสูงเพศผู้สูง 19-21 นิ้ว (48-53 ซม.) เพศเมียสูง 17-19 นิ้ว (43-48 ซม.) อนุโลมให้สูงและต่ำกว่านี้ได้ 0.5 นิ้ว (1-2 ซม.)น้ำหนักเพศผู้หนัก 19-21 ก.ก. เพศเมียหนัก 16-18 ก.ก.สี ขาว-น้ำตาล,ขาว-ดำ,ขาว-เทา
ขน สุนัขพันธุ์บางแก้วจะมีขนยาวปานกลางมี 2 ชั้น ชั้นในละเอียดอ่อนนุ่ม ชั้นนอกเส้นใหญ่เหยียดตรง ยาวคลุมบริเวณแผ่นหลังศีรษะศีรษะจะได้สัดส่วนกับลำตัวหู หูเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดเล็ก ได้สัดส่วนกับหัว ตั้งป้องไปข้างหน้า มีขนอ่อนที่กกหูและหลังใบหูตาตาเล็กคล้ายรูปสามเหลี่ยม (คล้ายเม็ดอัลมอนด์ Almond คือสีดำ สีน้ำตาลเข็ม)ปากปากยาวปานกลาง โคนปากใหญ่ ปลายปากเล็กแหลม จรดปลายจมูกจมูก จมูกได้สัดส่วนกับปาก มีสีดำ
ฟันฟันเล็กและแหลมคม ขบสนิทแบบกรรไกร ฟันบนเกยอยู่ด้านนอกแบบกรรไกร อนุโลมให้ฟันขบสนิทกันพอดีคอคอใหญ่ ล่ำสัน รับกับกระโหลกและช่วงไหล่ ตำแหน่งคอยกชูขึ้น เชิดหน้า ขาหน้าขาหน้าใหญ่กว่าขาหลัง เวลายืน เหยียดตรงและขนยาวลักษณะเป็นแข้งสิงห์ ข้อเท้าสั้นทำมุมเฉียงเล็กน้อยเท้าอุ้งเท้ากลมคล้ายอุ้งเท้าแมว มีขนยาวคลุมนิ้วเท้า
เส้นหลังเส้นหลังตรง แข็งแกร่ง มุมไหล่สูงลาดเทมาทางบั้นท้าย สะโพกสะโพกใหญ่และแข็งแรงส่วนหลังมีขนยาวลามลงมาจนถึงข้อขาหลังท่อนบน
หางโคนหางใหญ่ ขนหางเป็นพวงปลายโค้งเข้าหาเส้นหลัง เป็นครึ่งวงกลมที่สวยงาม ขาหลังขาหลังเล็กกว่าขาหน้าเวลายืนทำมุมพอเหมาะ มองจากด้านหลัง ข้อเท้าหลังตั้งได้ฉากและขนานกัน

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สักทอง


ไม้สัก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tectoma Grandis อยู่ในวงศ์ Verbenaceae มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะ อินเดียตะวันออก
ไม้สัก เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และบางส่วนของภาคกลางและตะวันตก คือ ท้องที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน ตาก กำแพงเพชร อุตรดิต์ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และพิจิตร และมีบ้างเล็กน้อยในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และกาญจนบุรี
ไม้สักชอบขึ้นตามพื้นที่ที่เป็นภูเขา แต่ในพื้นที่ราบ พื้นที่ดินปนทรายที่น้ำไม่ขัง ไม้สักก็ขึ้นได้ดีเช่นกัน ไม้สักมักเป็นหมู่ไม้สักล้วนๆ และมีขนาดใหญ่และชอบขึ้นที่ที่มี ชั้นดินลึก การระบายน้ำดี ไม่ชอบดินแข็งและน้ำท่วมขัง
ไม้สักเป็นไม้ผลัดใบ ขนาดใหญ่ที่มีลำต้นเปล่า มักมีพูพอนตอนโคนต้นเรือน ยอดกลมสูงเกินกว่า ๒๐ เมตร เปลือกหนา สีเทาหรือน้ำตาลอ่อนแกมเทาแตกเป็นร่องตื้นๆ ไปตามทางยาวและหลุดออกเป็นแผ่นบางๆ เล็กๆ ใบใหญ่ ความกว้าง ๒๕ - ๓๐ เซนติเมตร ยาว ๓๐ - ๔๐ เซนติเมตร รูปใบรีมนหรือรูปไข่กลับ แตกจากกิ่งเป็นคู่ๆ ท้องใบสากหลัง ใบสีเขียวแกมเทาเป็นขน ดอกเป็น สีขาวนวลออกเป็นช่อใหญ่ๆ ตามปลายกิ่งเริ่มออกดอกเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ผลค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ - ๒ เซนติเมตร ผลหนึ่งๆ มีเมล็ดใน ๑ - ๔ เม็ด เปลือกแข็งมีขนสั้นๆ นุ่มๆ สีน้ำตาลหุ้มอยู่ ผลจะแก่ในราว เดือนพฤศจิกายน - มกราคม
ลักษณะเนื้อไม้สีเหลืองทองถึงน้ำตาลแก่ มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาลแก่แทรกเสี้ยนตรงเนื้อหยาบแข็งปานกลาง เลื่อนใสกบ ตบแต่งง่าย
คุณสมบัติที่ดีบางประการ คือ ไม้สักปลวกมอดไม่ทำอันตราย เพราะในเนื้อไม้สักมีสารเคมีพิเศษ มีคุณสมบัติคงทนต่อ ปลวก แมลง เห็นราได้อย่างดียิ่ง มีความแข็งแรงสูงตามการทดลองถึง ๑,๐๐๐ กิโลกรัม / ตารางเซนติเมตร มีความทนทานตาม ธรรมชาติ จากการทดลองนำแก่นของไม้สักไปปักดิน มีความทนทานระหว่าง ๑๑ - ๑๘ ปี
นอกจากนี้ไม้สักทองยังพบว่ามีทองคำปนอยู่ ๐ ๕ ppm (ไม้สักทอง ๒๖ ตัน มีทองคำหนัก ๑ บาท)

แม้ว่าทิวลิปจะเป็นดอกไม้ที่ทำให้นึกถึงฮอลแลนด์ แต่ทั้งดอกไม้และชื่อมีที่มาจากจักรวรรดิเปอร์เชีย ทิวลิปหรือ “lale” (จากเปอร์เชีย)เช่นเดียวกับที่เรียกกันในตุรกี เป็นดอกไม้ท้องถิ่นของตุรกี, อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และบางส่วนของเอเชียกลาง แม้ว่าจะไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้นำทิวลิปเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปแต่ที่สำคัญคือตุรกีเป็นผู้ทำให้ทิวลิปมีชื่อเสียงที่นั่น เรื่องที่เป็นที่ยอมรับกันก็คือ Oghier Ghislain de Busbecqไปเป็นราชทูตของสมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในราชสำนักของสุลต่านสุลัยมานมหาราชแห่งจักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1554 Busbecq บรรยายในจดหมายถึงดอกไม้ต่างๆ ที่เห็นที่รวมทั้งนาร์ซิสซัส ดอกไฮยาซินธ์ และทิวลิปที่ดูเหมือนจะบานในฤดูหนาวที่ดูเหมือนผิดฤดู (ดู Busbecq, qtd. in Blunt, 7) ในวรรณคดีเปอร์เชียทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ต่างก็ให้ความสนใจกับดอกไม้ชนิดนี้
คำว่า “tulip” ที่ในภาษาอังกฤษสมัยแรกเขียนเป็น “tulipa” หรือ “tulipant” เข้ามาในภาษาอังกฤษจากฝรั่งเศสที่แผลงมาจากคำว่า “tulipe” และจากคำโบราณว่า “tulipan” หรือจากภาษาลาตินสมัยใหม่ “tulīpa” ที่มาจากภาษาตุรกี “tülbend” หรือ “ผ้ามัสลิน” (ภาษาอังกฤษว่า “turban” (
ผ้าโพกหัว) บันทึกเป็นครั้งแรกในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และอาจจะมาจากภาษาตุรกีอีกคำหนึ่งว่า “tülbend” ก็เป็นได้)

ทิวลิปในประเทศไทย
ในประเทศไทย สำนักงานเกษตรที่สูงดอยผาหม่น ได้ปลูกดอกทิวลิป ในพื้นที่เกษตรที่สูง
ดอยผาหม่น ต.ตับเต่า อ.เทิง จ.เชียงราย ตั้งปี พ.ศ. 2549 เพื่อการท่องเที่ยว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees
ชื่อสามัญ : Kariyat , The Creat
วงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-70 ซม. ทุกส่วนมีรสขม กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมากส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน
สรรพคุณ
มี 4 ประการคือ
-แก้ไข้ทั่ว ๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
-ระงับอาการอักเสบ พวกไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี -แก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ
-เป็นยาขมเจริญอาหาร
และการที่ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณ 4 ประการนี้ จึงชวนให้เห็นว่าตัวยาต้นนี้ เป็นยาที่สามารถนำไปใช้กว้างขวางมาก จากเหตุผลที่ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้