วัวอเมริกันบราห์มัน หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่าวัวบราห์มัน เป็นวัวอินเดีย (Bos indicus) ที่ได้รับการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ขึ้นในสหรัฐอเมริกา กล่าวกันว่าพันธุ์ที่ ประกอบกันขึ้นเป็นวัว บราห์มันนี้ ได้แก่ กุสเซอร์รัส (Guzerat) เนลลอร์ (Nellore) กีรร์ (Gyr) กฤษณะ (Krishna Valley)
วัวอินเดียกลุ่มแรกที่นำเข้าไปเลี้ยงในสหรัฐอเมริกานั้น มีมาตั้งแต่สมัยสงครามกลางเมืองของประเทศนี้ ต่อจากนี้ก็มีการนำวัวอินเดียเข้าไปเลี้ยงเป็นระยะๆ และมลรัฐ เท็กซัส เป็นถิ่นดั้งเดิมแรกเริ่มที่สำคัญในการปรับปรุงวัวพันธุ์อเมริกันบราห์มันจุดมุ่งหมายหลักของการสร้างพันธุ์วัวบราห์มันขึ้นมาคือ การสร้างพันธุ์วัวให้มีความอดทน และมีร่างกายแข็งแรง ทำกำไรให้แก่ผู้เลี้ยงได้ ไม่ว่าอยู่ในสภาพร้อนหรือ สภาพอากาศหนาว และเพื่อให้การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุดได้มาตรฐาน ในสหรัฐอเมริกาจึงได้จัดตั้งสมาคมผู้เลี้ยงวัวอเมริกันบราห์มัน (American Brahman Breeders Association - ABBA)ขึ้นในปีพ.ศ. 2467 Mr. J.W. Sartwelle จาก Houston เลขาธิการคนแรกของสมาคม ABBA เสนอชื่อวัวที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่นี้ว่า " อเมริกันบราห์มัน " และได้รับการยอมรับเป็นชื่อของวัวพันธุ์ใหม่นี้ และได้มีการจัดทำสมุดทะเบียนพันธุ์ประวัติ (Herd book) เพื่อบันทึกประวัติสายพันธุ์ของวัวบราห์มัน ขึ้น เพื่อรักษามาตรฐานพันธุ์วัวบราห์มันจึงกลายเป็นพันธุ์วัวเนื้อพันธุ์แท้พันธุ์แรกสุดที่ปรับปรุงขึ้นในประเทศอเมริกา บรรพบุรุษของวัวบราห์มันที่มีชื่อเสียง ได้แก่ แมนโซ่ (Manso) เป็นพ่อวัวที่มีโครงสร้างและลักษณะกล้ามเนื้อตะโพกดี มีนิสัยเชื่อง โตเร็ว เชื่อกันว่า 75% ของวัวอเมริกันบราห์มันในอเมริกาสืบสายเลือดมาจากพ่อพันธุ์ตัวนี้ ลักษณะเด่นของวัวในสายพันธุ์นี้คือ ลำตัวลึกมาก มีกล้ามเนื้อตะโพกมาก มีอายุผสมพันธุ์ได้เร็ว ให้น้ำนมเลี้ยงลูกมาก ทำให้ลูกเติบโตเร็ว ตัวที่มีชื่อเสียงมากในสายพันธุ์นี้คือ Elefante Manso 226/3 ซึ่งให้ลูกหลานเป็นแชมป์เปี้ยนมากมาย
ซูการ์แลนด์ เล๊คคราต้า (Sugarland's Rexcrata) เป็นสายพันธุ์บราห์มันที่มีชื่อเสียงอีกสายพันธุ์หนึ่ง ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้คือ มีลำตัวยาว ลึก และโตเร็ว พ่อพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากของสายพันธุ์นี้คือ Sugarland's Rexcrata 229/3 ซึ่งให้ลูกเป็นแชมเปี้ยนถึงปี 1990 เป็นจำนวนถึง 44 ตัว จึงได้ตำแหน่งเป็น Register of Renoun ในลำดับที่ 2 นอกจากนั้นก็มีสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงสายพันธุ์อื่นอีกคือสายพันธุ์อิมเพอร์ราเตอร์ (Imperator) ลักษณะเด่นคือ เป็นวัว Black Pigment ทำให้สมารถทนร้อนได้ดี และในสภาพอากาศที่ร้อนจัดก็ยังสามารถเติบโตได้ดีมาก สายพันธุ์ซูวา (Suva) เป็นสายพันธุ์ที่ให้น้ำนมเลี้ยงลูกดี มีลักษณะรูปร่างสวยงาม ถ่ายทอดลักษณะที่ดีต่างๆ ไปยังลูกได้ดี พ่อพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมาก คือ ซูวา 203 (Suva 203) เป็นวัวที่ให้น้ำนมเลี้ยงลูกเป็นที่หนึ่งใน Sire Summary ปี 1989 ให้ลูกเป็นแชมเปี้ยนถึงปี 1990 ถึง 118 ตัว นอกจากสายพันธุ์บราห์มันเทาแล้ว บราห์มันแดงที่มีชื่อเสียง คือ Mr.America 61/9 ของฟาร์ม HK Ranch, Mr.Red Mayro 257/2 ของฟาร์ม วี-8 เป็นต้น
สืบเนื่องจากความดีเด่นของวัวบราห์มันของประเทศสหรัฐอเมริกานี้เอง ประเทศที่อยู่ในเขตร้อนต่างตระหนักดีว่า วัวพันธุ์นี้แหละเป็นวัวที่เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อน จึงได้มีการนำเข้าวัวบราห์มันจากอเมริกาซึ่งเป็นแหล่งต้นตอของพันธุ์นี้ไปเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก วัวบราห์มันที่เลี้ยงกันในมลรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ไม่ต่ำกว่า 61 ประเทศนั้นเป็นวัว บราห์มันที่ได้รับการจดทะเบียนของสมาคมผู้เลี้ยงวัวพันธุ์อเมริกันบราห์มัน (ABBA) ในปี 2530 มีเกินกว่า 925,000 ตัว การนำเข้าวัวอเมริกาบราห์มันสายเลือดดี เพื่อขยายพันธุ์เป็นพันธุ์แท้ หรือเพื่อปรับปรุงพันธุ์วัวพื้นเมืองหรือเพื่อใช้ประโยชน์ในการผสมข้ามกับวัวพันธุ์อื่น เป็นการลงทุนที่ช่วยย่นระยะเวลาการปรับปรุงพันธุ์วัวอย่างดีเพราะกว่าที่จะได้เป็นวังอเมริกา บราห์มันที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ เขาต้องใช้เวลาผสมและคัดเลือกพันธุ์สืบต่อเนื่องกันมาถึง 136 ปี การสร้างพันธุ์วัวเนื้อจากวัวอเมริกันบราห์มันวัวอเมริกาบราห์มันใช้สร้างวัวพันธุ์เนื้อขึ้นมาหลายพันธุ์ เนื่องจากวัวบราห์มันมีความดีเด่นหลายประการที่เหมาะสมกับเขตที่มีอากาศร้อน ยิ่งนำไปผสมกับวัวยุโรป ด้วยแล้วจะเป็นการรวบรวมลักษณะดีเยี่ยมของแต่ละฝ่ายเข้าด้วยกัน จะได้พันธุ์วัวพันธุ์ใหม่ที่มีความร้อน ทนโรค ทนแมลง และให้เนื้อคุณภาพดีเยี่ยม หลักการนี้เป็นที่ยอม รับกันในหมู่ผู้เลี้ยงวัวเนื้อทั้งนักวิชาการและนักปฏิบัติการจึงมีการสร้างพันธุ์วัวเนื้อขึ้นมาใหม่หลายพันธุ์ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เช่น
พันธุ์
สายเลือด
แบรงกัส
3/8 บราห์มัน 5/8 แองกัส
ชาร์เบย์
3/8 บราห์มัน 5/8 ชาโรเล่ย์
บราห์ฟอร์ด
3/8 บราห์มัน 5/8 เฮียร์ฟอร์ด
ชิมบราห์
3/8 บราห์มัน 5/8 ซิมเมนทอล
บราห์มูซีน
3/8 บราห์มัน 5/8 ลิมูซีน
เป็นต้น
วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)